เลือกภาษา
close
ท้องอืดและแก๊ส : เกิดจากอะไรบ้างนะ?
บทความและข้อมูลด้านสุขภาพโดย Pulse

ท้องอืดและแก๊ส : เกิดจากอะไรบ้างนะ?

ท้องอืด คือความรู้สึกไม่สบายท้องที่เกิดจากการก่อตัวของแก๊สในลำไส้ของเรา แก๊สเหล่านี้อาจทำให้เรา เรอ ท้องอืด หรือปวดท้องได้

แก๊สในลำไส้เกิดมาจากน้ำตาลที่เราได้รับจากการทานอาหาร (ฟรักโทส, แลคโตส, กลูโคส และซูโครส) ที่ดูดซึมในลำไส้เล็กได้ไม่หมด ทำให้แบคทีเรียประจำถิ่นที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ของเราต้องทำการย่อยสลายน้ำตาลเหล่านี้ และปล่อยแก๊สต่างๆ เช่น ไฮโดรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน และมีเทน ออกมาระหว่างทำการย่อยสลาย จึงเป็นเหตุเกิดอาการท้องอืด

คนตะวันตกมากกว่า 30% และประมาณ 15% ของคนเอเชียมีอาการท้องอืด ณ จุดๆหนึ่งในชีวิตของพวกเค้า นอกจากนี้อาการท้องอืดยังพบได้บ่อยในผู้ที่มีอาการลำไส้แปรปรวน (IBS) และโรคกระเพาะอาหารแปรปรวน

 

โรค IBS หรือโรคลำไส้แปรปรวน เป็นภาวะที่ลำไส้เกิดการการบีบตัวทำให้มีอาการ ท้องอืด ท้องเสีย และท้องผูกสลับกัน อาหารบางประเภทและความเครียดก็อาจก่อให้เกิดอาการในหลากหลายระดับได้ ส่วนโรคกระเพาะอาหารแปรปรวน จะมีอาการอาหารไม่ย่อยและปวดท้องบ่อยโดยไม่มีสาเหตุ

 

ท้องอืดเกิดจากอะไร?

 

1. แบคทีเรียมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากเกินไป

แบคทีเรียที่ผลิตแก๊สโดยปกติมักพบได้ในลำไส้ใหญ่ และส่วนน้อยพบได้ในลำไส้เล็ก

SIBO (หรือภาวะจุลินทรีย์ในลำไส้เล็กเจริญเติบโตมากผิดปกติ) คือการที่แบคทีเรียในลำไส้เล็กมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ ซึ่งอาจจะนำไปสู่การสะสมของน้ำตาล ทำให้แก๊สถูกสร้างขึ้นมากเกินไป

 

2. การกลืนอากาศ

พวกเราอาจมีการกลืนอากาศผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การเคี้ยวมันฝรั่ง สูบบุรี่ หรือดื่มน้ำโดยใช้หลอดดูด ทำให้แก๊สสะสมในทางเดินอากาศส่วนบน แก๊สเหล่านี้สามารถทำการขับออกได้โดยการเรอ

 

3. กระเพาะอาหารบีบตัวช้า

ภาวะกระเพาะอาหารบีบตัวช้า และลำไส้อุดตัน อาจทำให้ระบอบย่อยอาหารทำการย่อยอาหารนานกว่าปกติ ซึ่งทำให้น้ำตาลอยู่ในลำไส้นานขึ้น และก่อให้เกิดการสะสมแก๊สในที่สุด

 

4. การดูดซึมคาร์โบไฮเดรตที่น้อยกว่าปกติ

บางคนอาจมีปริมาณเอนไซม์น้อย ซึ่งเอนไซม์มีหน้าที่ช่วยย่อยคาร์โบไฮเดรต คาร์โบไฮเดรตที่พบได้ทั่วไป เช่น แลคโตส สามารถพบได้ในผลิตภัณฑ์นม และฟรักโตส สามารถพบได้ในผลไม้ คนที่มีปริมาณเอนไซม์แล็กเทสน้อย จะนำมาสู่การแพ้อาหารที่มีแลคโตส

 

5. การอุจจาระเป็นก้อนแข็ง หรือท้องผูก

ท้องผูกอาจเกิดจากการที่กระเพาะบีบตัวช้า ซึ่งทำให้ของเสียอยู่ในลำไส้นานขึ้น

 

6. การใช้ยาบางชนิด

ยาปฏิชีวนะบางชนิดฆ่าแบคทีเรียทั้งชนิดที่ดีและไม่ดีออกไปจากร่างกายเรา ซึ่งอาจเป็นการรบกวนการทำงานของจุลินทรีย์ในลำไส้ การใช้ยาปฏิชีวนะในระยะยาวจึงมีโอกาสทำลายระบบตามธรรมชาติ นอกจากนี้ ยาลดกรด แอสไพริน และยาแก้ปวดพวกชนิดก็ทำให้เกิดอาการท้องอืดได้เช่นกัน

 

7. โรคหรืออาการประจำตัวต่างๆ

ตัวอย่างเช่น กลุ่มคนที่มีโรค IBS และโรคกระเพาะอาหารแปรปรวนจะมีอาการท้องอืดและปวดท้องเป็นประจำอยู่แล้ว รวมถึงผู้หญิงที่มีโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) ก็จะมีอาการเหล่านี้เช่นกัน และอาจรุนแรงขึ้นช่วงที่มีประจำเดือน

 

ตอนนี้เราก็รู้สาเหตุของอาการท้องอืดและการเกิดแก๊สกันแล้ว อย่าลืมอ่านบทความพาร์ท 2 ที่จะมีเคล็ดลับการลดและป้องกันท้องอืดกันด้วยนะ!

อ้างอิง:

1. Clinical Dimensions of Bloating in Functional Gastrointestinal Disorders. Journal of Neurogastroenterology and Motility. 2016. Cited 19 July 2021. Available from: https://www.jnmjournal.org/journal/view.html?doi=10.5056/jnm15167
2. Abdominal Bloating: Pathophysiology and Treatment. Journal of Neurogastroenterology and Motility. 2013. Cited 19 July 2021. Available from: https://www.jnmjournal.org/journal/view.html?doi=10.5056/jnm.2013.19.4.433
3. What is a gastrointestinal (GI) motility disorder? Wexner Medical Center. The Ohio State Medical University. Cited 19 July 2021. Available from: https://wexnermedical.osu.edu/digestive-diseases/gastrointestinal-motility-disorders
4. Pathophysiology, Evaluation, and Treatment of Bloating .Gastroenterology and Hepatology. 2011. Cited 19 July 2021. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3264926/
5. Polysaccharides – Fiber. Kansas State University.2020. Cited 28 July 2021. Available from: https://med.libretexts.org/Under_Construction/Purgatory/Book%3A_Intermediate_Nutrition_(Lindshield)/02%3A_Macronutrient_Structures/2.01%3A_Carbohydrates/2.1E%3A_Polysaccharides/1.03%3A_Polysaccharides_-_Fiber
6. Lactose malabsorption and intolerance: pathogenesis, diagnosis and treatment. United European Gastroenterology Journal. 2013. Cited 19 July 2021. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4040760/
7. Abdominal Bloating: An Under-recognized Endometriosis Symptom. Journal of Obstetrics and Gynaecology Canada. 2009. Cited 19 July 2021. Available from: https://www.jogc.com/article/S1701-2163(16)34377-8/fulltext