บริการความคิดเห็นที่สองทางการแพทย์จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านระดับโลก (MSO)

ขั้นตอนการรับบริการ
ขั้นตอนการรับบริการความคิดเห็นที่สองทางการแพทย์ หรือ Medical Second Opinion (MSO)
ผู้มีสิทธิ์รับบริการ MSO คือใคร?
ผู้มีสิทธิ์รับบริการ MSO คือ ลูกค้าพรูเด็นเชียล ประเทศไทย ที่ถือกรมธรรม์ประกันชีวิตและสัญญาเพิ่มเติมแนบดังต่อไปนี้
เงื่อนไขและรายละเอียดบริการ
1. ข้อมูลการวินิจฉัย และรายละเอียดข้อมูลทางการแพทย์ทั้งหมดของลูกค้าจะถูกเก็บรักษาเป็นความลับ
ซึ่งจะมีเพียงทีมแพทย์ลงความเห็นที่ 2 เท่านั้นที่จะได้รับ ประวัติการรักษาของลูกค้า เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ และลงความเห็นหลังจากลูกค้าติดต่อเข้ามา และเซ็นเอกสารยินยอมเพื่อเปิดเผยข้อมูลและขอรับบริการเท่านั้น
2. บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเลือกสถาบันการแพทย์จากรายชื่อของโรงพยาบาลที่ผ่านการคัดกรองแล้วจาก MediGuide เท่านั้น
โดยปัจจุบันโรงพยาบาล ส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบอเมริกา และแถบยุโรป รายชื่อโรงพยาบาลในเครือข่ายสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
3. ตัวอย่างสถาบันการแพทย์ชั้นนำระดับโลกที่อยู่ในเครือข่ายการให้บริการ
- Cedars Sinai Medical Center – USAFox Chase Cancer Center - USA
- Massachusetts General Hospital – USA
- University of Pittsburgh Medical Center – USA
- Brigham and Women’s Hospital – USA
- Mercy – USA
- Dana Farber Cancer Institute Boston MA – USA
- University Clinic Heidellberg Universittsklinikum Heidelberg – Germany
- Hopitaux Universitaires de Geneve – Switzerland
- Peking Union Medical college Hospital Beijing – China
4. บริการความเห็นที่ 2 ทางการแพทย์ ไม่เหมาะกับลูกค้าที่ต้องได้รับการรักษาแบบฉุกเฉิน เนื่องจากมีความเสี่ยง หากต้องรอผลการวินิจฉัย
5. บริการความเห็นที่ 2 ทางการแพทย์นี้ เป็นการให้บริการของ MediGuide โดยบริษัทฯ เป็นเพียงผู้แนะนำบริการนี้ให้กับลูกค้าเท่านั้น บริษัทฯ ไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ ต่อผลของการบริการ
6. บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือยกเลิกการให้บริการโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.1621
10 อันดับการวินิจฉัยที่ลูกค้ารับบริการ MSO
อันดับที่ 1 : การวินิจฉัยเกี่ยวกับโรคมะเร็ง เนื้องอก ก้อนเนื้อ (Oncology)
อันดับที่ 2 : การวินิจฉัยเกี่ยวกับการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วยที่เกิดกับกระดูก (Orthopedics)
อันดับที่ 3 : การวินิจฉัยเกี่ยวกับการเจ็บป่วยที่เกิดในเด็ก (Pediatrics)
อันดับที่ 4 : การวินิจฉัยเกี่ยวกับความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับระบบประสาท (Neurology)
อันดับที่ 5 : การวินิจฉัยเกี่ยวกับความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับระบบทางเดินอาหาร (Gastro)
อันดับที่ 6 : การวินิจฉัยเกี่ยวกับการผ่าตัดสมองและระบบประสาท (Nuerosurgery)
อันดับที่ 7 : การวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับระบบการสืบพันธุ์ของสตรี (Gynaecology)
อันดับที่ 8 : การวินิจฉัยเกี่ยวกับโรครูมาติก แพทย์รูมาติกรักษาโรคที่อาศัยภูมิคุ้มกันของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก เนื้อเยื่ออ่อน โรคภูมิคุ้มกันตนเอง หลอดเลือดอักเสบและโรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์เป็นหลัก (Rheumatology)
อันดับที่ 9 : การวินิจฉัยเกี่ยวกับโรคของตา (Ophthalmology)
อันดับที่ 10 : การวินิจฉัยเกี่ยวกับการผ่าตัดและศัลยกรมมทั่วไป (General surgery)
ตัวอย่างเคส
จากผู้ใช้บริการจริง

การวินิจฉัยมะเร็งท่อน้ำดี
ชายวัย 50 ปี ป่วยเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดี และอยู่ในระหว่างรับการรักษาด้วยเคมีบำบัดและได้รับคำแนะนำให้ปลูกถ่ายตับ
• หลังเข้ารับบริการ MSO
แพทย์ได้แนะนำให้เปลี่ยนไปใช้ยาเคมีบำบัดประเภทอื่น ขณะที่ศัลยแพทย์มะเร็งวิทยาไม่เห็นด้วยกับแผนการปลูกถ่ายตับ และไม่แนะนำให้ทำการผ่าตัดใดๆ

การวินิจฉัยโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม
หญิงวัย 40 ปี มีอาการปวดหลังต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน แพทย์ผู้ตรวจรักษาจึงได้แนะนำให้เธอเข้ารับการผ่าตัดเพื่อเชื่อมกระดูกสันหลัง
• หลังเข้ารับบริการ MSO
แพทย์ได้แนะนำให้รักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด โดยศัลยแพทย์กระดูกและระบุว่า หากทำการผ่าตัดโดยไม่ได้มีการประเมินเพิ่มเติม จะทำให้มีความเป็นไปได้ว่าอาการจะไม่ดีขึ้น และอาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดในอนาคต
คำถามพบบ่อย
ใครมีสิทธิใช้บริการบ้าง และสามารถตรวจสิทธิการใช้บริการได้ช่องทางไหน ?
ผู้ที่มีสิทธิรับบริการความคิดเห็นที่สองทางการแพทย์ หรือ Medical Second Opinion (MSO)
-
ลูกค้าพรูเด็นเชียล ประเทศไทย ที่ถือกรมธรรม์ประกันชีวิตและสัญญาเพิ่มเติมแนบดังนี้ พรู เฮลท์ ริช โพรเทคชั่น, พรูเฮลธี้ พลัส, ทีทีบี เฟล็กซี่ แคร์, ทีทีบี อัลติเมท แคร์, ทีทีบี อีซี่ แคร์ พลัส เฉพาะแผนแพลทินัม, ยูโอบี เฮลธี เวลท์ หรือ ยูโอบี เฮลธ์แคร์ พลัส
-
กรมธรรม์ต้องอยู่ในสถานะมีผลบังคับ
-
มีผลวินิจฉัยจากโรงพยาบาล และมีอาการที่อยู่ในข่ายที่ขอเข้ารับบริการได้
คุณสามารถตรวจสอบสิทธิและขอรับบริการได้กับ MediGuide ได้ที่เบอร์ 1800-019-590
สามารถทำอย่างไรได้บ้าง เพื่อให้มีสิทธิในการใช้บริการ ?
เพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ คุณจะต้องถือกรมธรรม์ พรู เฮลท์ ริช โพรเทคชั่น, พรูเฮลธี้ พลัส, ทีทีบี เฟล็กซี่ แคร์, ทีทีบี อัลติเมท แคร์, ทีทีบี อีซี่ แคร์ พลัส เฉพาะแผนแพลทินัม, ยูโอบี เฮลธี เวลท์ หรือ ยูโอบี เฮลธ์แคร์ พลัส เท่านั้น
โดยคุณสามารถให้ข้อมูลติดต่อกับเราเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับเพื่อให้คำแนะนำได้ ที่นี่
ใครเหมาะกับการใช้บริการนี้บ้าง ?
บริการขอความคิดเห็นที่สองทางการแพทย์ เหมาะกับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยจากโรงพยาบาลว่าเป็นโรคร้ายแรง หรือ เสี่ยงเป็นโรคร้ายแรง
แต่ไม่เหมาะกับลูกค้าที่ต้องได้รับการรักษาแบบฉุกเฉิน เนื่องจากมีความเสี่ยง หากต้องรอผลการวินิจฉัย
เหตุใดผู้เอาประกันภัยจึงต้องเลือก 1 ใน 3 สถาบันทางการแพทย์ที่เจ้าหน้าที่เลือกมาให้ ?
เจ้าหน้าที่จะทำวิเคราะห์ประวัติการรักษาที่ได้รับมา และทำการคัดเลือกสถาบันการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญที่เหมาะสมที่สุด 3 สถาบัน เพื่อให้ช่วยผู้ประกันภัยได้เลือกสถาบันจากตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด
ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันทางการแพทย์ วินิจฉัยหรือเสนอแนวทางการรักษา จากอะไร ?
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะนำประวัติการรักษา, ผล x-ray และข้อมูลทางการแพทย์ต่างๆ ที่ได้รับมาทำการวินิจฉัยและเสนอแนวทางการรักษา
หากมีคำถามที่เกี่ยวกับผลวินิจฉัยหรือแนวทางการรักษาที่ได้รับจากความคิดเห็นที่สอง ต้องทำอย่างไรได้บ้าง ?
หลังจากที่ได้รับรายงานผลการวินิจฉัยและแนวทางการรักษาแล้ว คุณสามารถนำผลที่ได้ไปปรึกษากับแพทย์ของคุณหรือรวบรวมคำถามที่สงสัย โดยคุณสามารถทำการสอบถามหรือขอคำปรึกษาเพิ่มเติมกับเจ้าหน้าที่ได้ภายในสายสนทนาระหว่างรับฟังการอธิบายผลรายงาย
หมายเหตุ:
-
หากคุณต้องการถามคำถามหลังจากสิ้นสุดสายสนทนา คุณอาจจะต้องขอใช้บริการ MSO ใหม่ โดยจะต้องดำเนินการใหม่ตั้งแต่ต้น
หากต้องการให้แพทย์ผู้ดูแลได้คุยกับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ต้องทำอย่างไร ?
หลังจากที่ได้รับรายงานผลการวินิจฉัยและแนวทางการรักษาแล้ว คุณสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ MediGuide ไ้ด้ทั้งก่อนหรือระหว่างการอธิบายผลรายงาน เพื่อขอให้แพทย์ของคุณได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง
หมายเหตุ:
-
ผู้เอาประกันภัยไม่สามารถอยู่ในสายสนทนาระหว่างแพทย์กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
-
หากคุณต้องการถามคำถามหลังจากสิ้นสุดสายสนทนา คุณอาจจะต้องขอใช้บริการ MSO ใหม่ โดยจะต้องดำเนินการใหม่ตั้งแต่ต้น
ระยะเวลาในการดำเนินการทั้งหมด ?
ระยะเวลาดำเนินการทั้งหมดจะใช้ระยะเวลาประมาณ 14 วัน ไม่รวมระยะเวลารอผู้เอาประกันภัยลงชื่อบนเอกสารยินยอมเปิดเผยข้อมูล และระยะเวลารวบรวมประวัติการรักษา