เลือกภาษา
close

บริการช่วยเหลือในการสอบถามข้อมูล

หากคุณมีข้อสงสัยที่ต้องการทราบ เราพร้อมให้บริการเพื่อนำคุณไปหาคำตอบ

คำถามที่พบบ่อย

1.1 การประกันชีวิต คืออะไร?
  • การที่บริษัทประกันชีวิต ตกลงจะชดใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์หรือทายาท โดยผู้เอาประกันภัยจะต้องส่งเบี้ยประกันภัยแก่บริษัทประกันชีวิตตามระยะเวลาที่กำหนด

  • การออมเงินพร้อมคุ้มครองชีวิต ซึ่งการออมเงินดังกล่าว สามารถระบุจำนวนเงิน และระยะเวลาของกรมธรรม์

1.2 ปัจจุบันบริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีประกันชีวิตจำหน่ายอยู่กี่ประเภท อะไรบ้าง?
  • ประกันชีวิตส่วนบุคคล (Ordinary Life)

  • ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (Personal Accident)

  • ประกันสินเชื่อ (Credit Life)

  • ยูนิตลิงค์ (Unit Link)

  • ประกันชีวิตกลุ่ม (Group Life)

1.3 ปัจจุบันบริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีแบบของการประกันชีวิตกี่ประเภท อะไรบ้าง?
  • แบบตลอดชีพ (Whole Life) เป็นการประกันชีวิตให้ความคุ้มครองตลอดชีพ ถ้าผู้เอาประกันเสียชีวิตเมื่อใดในขณะที่กรมธรรม์มีผลบังคับ บริษัทฯ จะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ หรือหาก ผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่จนครบสัญญา บริษัทฯ จะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยตามเงื่อนไขกรมธรรม์

  • แบบสะสมทรัพย์ (Endowment) เป็นการประกันชีวิตที่บริษัทฯ จะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยก็ต่อเมื่อมีชีวิตครบตามกำหนดสัญญา หรือจ่ายเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตลงภายในระยะเวลาประกันภัย การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์เป็นส่วนผสมของการคุ้มครองชีวิตและการออมทรัพย์

  • แบบกำหนดระยะเวลา (Term) เป็นการประกันชีวิตที่บริษัทฯ จะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชิวิตในระยะเวลาประกันภัย วัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองการเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร การประกันชีวิตแบบนี้ ไม่มีส่วนของการออมทรัพย์ เบี้ยประกันภัยจึงต่ำกว่าแบบอื่นๆ และไม่มีเงินเหลือคืนให้ หากผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่จนครบกำหนดสัญญา

1.4 ปัจจุบันบริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีช่องทางการจำหน่ายกี่ช่องทาง ช่องทางใดบ้าง?
  • Face to Face เป็นการขายประกันผ่านตัวแทนของบริษัท ฯ ซึ่งตัวแทนขายจะต้องหาลูกค้าและขอเข้าพบลูกค้าเพื่อนำเสนอและวางแผนการออมให้แก่ลูกค้า โดยเบื้องต้นจะต้องสอบถามความต้องการของลูกค้าก่อน แล้วจึงนำเสนอแบบประกันที่เหมาะสมตรงกับ ความต้องการของลูกค้า ซึ่งตัวแทนขายแบบ Face to Face ของบริษัทฯ ในปัจจุบันมีดังนี้

    - ช่องทางขายผ่านตัวแทน (Agency)

    - ช่องทางขายผ่านแบงก์แอสชัวรันส์ (Bancassurance)

  • Direct Marketing/ Telemarketing (DM/TM) เป็นช่องทางขายประกันภัยผ่านทางโทรศัพท์

1.5 หลักเกณฑ์การพิจารณารับประกันภัย มีข้อกำหนดอะไรบ้าง?
  • ข้อกำหนดทั่วไป อันได้แก่ ข้อกำหนดเกี่ยวกับอายุ, เบี้ยประกันภัยขั้นต่ำ, งวดการชำระเบี้ยประกันภัยความคุ้มครอง เป็นต้น

  • ข้อกำหนดเพิ่มเติม อันได้แก่ ตรวจ Anti – HIV (แล้วแต่กรณี), กลุ่มคนพิเศษที่ต้องมีการตรวจสุขภาพ ตามแบบฟอร์มบริษัทฯ (แล้วแต่กรณี), หลักเกณฑ์การรับประกันภัยสำหรับสตรีมีครรภ์/แม่บ้าน/พ่อบ้าน เยาวชน (อายุต่ำกว่า 17 ปี ) นักเรียน/นักศึกษา (อายุ 17 ปีขึ้นไป) พระภิกษุ และกรณีชาวต่างชาติ

  • ข้อกำหนดการรับประกันภัยแบบไม่ตรวจสุขภาพ (Non-Medical) ** ให้ตรวจสอบเงื่อนไขอีกครั้ง **

  • ข้อกำหนดของการตรวจสุขภาพ

  • ข้อกำหนดชั้นอาชีพของชีวิต

  • ข้อกำหนดหลักฐานแสดงฐานะทางการเงิน เป็นต้น

1.6 ปัจจุบันช่องทางการชำระค่าเบี้ยประกันภัยของ บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีกี่ช่องทาง ช่องทางใดบ้าง?

1. ชำระเบี้ยประกันภัยโดยอัตโนมัติ

- ชำระผ่านการหักจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ หรือบัญชีกระแสรายวัน

- ชำระผ่านการหักบัตรเครดิต

2. ชำระผ่านโมบายแอปพลิเคชั่น, อินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้ง, เอทีเอ็ม และเคาน์เตอร์ธนาคาร

- ลูกค้าของบริษัทฯ สามารถชำระโดยสแกนคิวอาร์/บาร์โค้ด จากใบเตือนถึงกำหนดชำระเบี้ย ประกันภัยที่ออกโดยบริษัทฯ หรือคลิกลิงก์ชำระเงินทันทีผ่านบาร์โค้ด จากข้อความผ่านมือถือ (SMS) ที่ออกโดยบริษัทฯ

3. ชำระผ่านเคาน์เตอร์ตัวแทนรับชำระเงิน

- ลูกค้าของบริษัทฯสามารถเลือกใช้บริการชำระค่าเบี้ยประกันภัย สำหรับ กรมธรรม์ประกันชีวิตผ่าน “เคาน์เตอร์ตัวแทนรับชำระ” โดยนำ “ใบเตือนถึงกำหนดชำระเบี้ย ประกันภัยที่ออกโดยบริษัทฯ” ไปชำระได้ที่ เทสโก้โลตัส, เคาน์เตอร์เชอร์วิส (7-11), บิ๊กซี และ ที่ทำการไปรษณีย์

4. ชำระเบี้ยประกันภัยออนไลน์ผ่าน PRUPolicy และ PRUConnect

 

 

1.7 ถ้าต้องการทราบผลการอนุมัติใบคำขอเอาประกันภัย สามารถติดต่อที่ใด?

ลูกค้าสามารถติดต่อศูนย์บริการลูกค้า ได้ที่ Call Center โทร. 1621 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-19.00 น.และวันเสาร์ เวลา 08.30-16.00 น. (ยกเว้นวันอาทิตย์, วันหยุดธนาคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
อีเมล: hotline@prudential.co.th

1.8 ถ้าต้องการสอบถามข้อมูลด้านอื่นๆ เพิ่มเติม จะติดต่อได้อย่างไร?

ลูกค้าสามารถติดต่อศูนย์บริการลูกค้า ได้ที่ Call Center โทร. 1621 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-19.00 น.และวันเสาร์ เวลา 08.30-16.00 น. (ยกเว้นวันอาทิตย์, วันหยุดธนาคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
อีเมล: hotline@prudential.co.th

The interest rate for coupon reinvestment FAQs

2.1 What is the new interest rate for coupon reinvestment?

2.00% per year

2.2 When will the new interest rate take effect?

The new interest rate will take effect from 1 March 2021 onwards.

2.3 Will the new rate affect the amount that has been deposited?

There is no effect on the accumulated amount that has been deposited. However, the accumulated amount will be calculated based on the new interest rate from 1 March 2021 onwards.

2.4 Can customers withdraw the annual cash back that is maintained with the Company?

Customers can request withdrawal of money that is maintained with the company by completing the request form, choosing how payment is received (by cheque or transfer to a savings account), having copies of ID card (certified by the Insured) and a copy of the passbook (in case of choosing to transfer a savings account) attached and sending all documents to the Company.

The customer will receive the money within 7 working days from the date the Company received complete documents.

Document submission channel:

  • By postage mail: Policy Service Division, Prudential Life Assurance (Thailand) Public Company Limited

No. 9/9 @Sathorn Building, 21st Floor, South Sathorn Road, Yannawa Sub-district, Sathorn District, Bangkok 10120

2.5 If customers have already requested for withdrawal of annual cash back that has been maintained with the company, can they make a new request to re-deposit?

If the customer has already withdrawn he annual cash back that has been deposited with the company, he or she will not be able to make a new request to re-deposit because the request to maintain the benefits with the Company can be exercised once only.

2.6 For new customers: if they would like to maintain an annual cashback with the Company, what should they do?

Customers must inform the Company about this intention at the stage of insurance application, by filling in the Request Form.

2.7 Where can I look for the information regarding the interest rate for coupon reinvestment?

Customers can look for the detailed information at the Company's website, https://www.prudential.co.th/corp/prudential-th/en/about-prudential-thailand/our-financial-performance/ "Our performance“ Menu. The interest rate is subject to change in the future. In case of rate change, there will be an announcement in the Company’s website.

2.8 Can the interest rate for maintaining annual cash back with the company be changed?

The interest rate can be changed in the future. The announcement of rate change will be posted in the Company’s website. Customers can look for the detailed information from the Company's website, https://www.prudential.co.th/corp/prudential-th/th/about-prudential-thailand/our-financial-performance/ "Our Performance“ Menu.

2.9 Through which channel can customers check the deposit amount for the cash back maintained with the Company?

Customers can check or contact the company for detailed information about the deposit amount that was maintained with the Company from the following channels:

  1. Check the information from the Premium Notice under the “Benefits” Section
  2. Customer Service Center, Tel. 1621
  3. E-mail: hotline@prudential.co.th
  4. Line Official Prudential Thailand (Live Chat function)
  5. Facebook https://www.facebook.com/PrudentialThai/ ผ่านทาง Messenger (ฝากข้อความ) Via Facebook Messenger (leave a message)

คำถามเกี่ยวกับ การเรียกร้องสินไหมทดแทน

วิธีการเรียกร้องสินไหมทดแทนต้องทำอย่างไร ติดต่อที่ไหน และเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
3.1 การเรียกร้องเงินตามกรมธรรม์ประกันภัยกรณีการเสียชีวิตธรรมดา
เอกสารประกอบการพิจารณาการจ่ายค่าสินไหมทดแทนที่ต้องยื่นต่อบริษัทฯ มีดังต่อไปนี้

1. เอกสารของผู้เอาประกันภัย

  • กรมธรรม์ประกันภัยของผู้เอาประกันภัย (ต้นฉบับ)

  • มรณบัตรต้นฉบับ (หากเป็นสำเนา ต้องให้เจ้าหน้าที่ผู้ออกเอกสาร รับรองสำเนา

  • สำเนาบัตรประจำตัว ของผู้เอาประกันภัย รับรองโดยผู้รับประโยชน์

  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เอาประกันภัย ที่มีประทับตรา “ตาย” รับรองโดยผู้รับประโยชน์


2. เอกสารของผู้รับประโยชน์

  • หนังสือเรียกร้องสินไหมมรณกรรม โดยมีลายเซ็นของผู้รับประโยชน์ครบทุกค

  • สำเนาบัตรประจำตัว และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับผลประโยชน์

  • หนังสือยินยอมของผู้รับประโยชน์หรือทายาทในการเปิดเผยประวัติ
3.2 การเรียกร้องสินไหมตามกรมธรรม์ประกันภัย กรณีการเสียชีวิตจากอุบัติเิหตุหรือเหตุอื่น
เอกสารประกอบการพิจารณาการจ่ายค่าสินไหมทดแทนที่ต้องยื่นต่อบริษัทฯ มีดังต่อไปนี้

1. เอกสารของผู้เอาประกันภัย

  • กรมธรรม์ประกันภัยของผู้เอาประกันภัย (ต้นฉบับ)

  • มรณบัตรต้นฉบับ (หากเป็นสำเนา ต้องให้เจ้าหน้าที่ผู้ออกเอกสาร รับรองสำเนา

  • สำเนาบัตรประจำตัว ของผู้เอาประกันภัย รับรองโดยผู้รับประโยชน์

  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เอาประกันภัย ที่มีประทับตรา “ตาย” รับรองโดยผู้รับประโยชน์


2. เอกสารของผู้รับประโยชน์

  • หนังสือเรียกร้องสินไหมมรณกรรม โดยมีลายเซ็นของผู้รับประโยชน์ครบทุกค

  • สำเนาบัตรประจำตัว และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับผลประโยชน์

  • หนังสือยินยอมของผู้รับประโยชน์หรือทายาทในการเปิดเผยประวัติ

 

3. เอกสารเพิ่มเติม

  • สำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีที่ได้รับรองสำเนาถูกต้องจากตำรวจ
  • สำเนารายงานชันสูตรพลิกศพ
3.3 การเรียกร้องเงินตามกรมธรรม์ประกันภัยจากอุบัติเหตุ (ในกรณีไม่เสียชีวิต)
เอกสารประกอบการพิจารณาการจ่ายค่าสินไหมทดแทนที่ต้องยื่นต่อบริษัทฯ มีดังต่อไปนี้
  • หนังสือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน (ผู้เอาประกันภัยกรอกรายละเอียดครบถ้วน)

  • รายงานของแพทย์หรือของสถานพยาบาล (ระบุรายละเอียดการรักษาครบถ้วน)

  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้เอาประกันภัย

3.4 การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกรณีค่ารักษาพยาบาล
เอกสารประกอบการพิจารณาการจ่ายค่าสินไหมทดแทนที่ต้องยื่นต่อบริษัทฯ มีดังต่อไปนี้
  • หนังสือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน (ผู้เอาประกันภัยกรอกรายละเอียดครบถ้วน)

  • รายงานของแพทย์หรือของสถานพยาบาล (ระบุรายละเอียดการรักษาครบถ้วน)

  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้เอาประกันภัย

  • ใบเสร็จรับเงินต้นฉบับและใบสรุปหน้างบ

คำถามเกี่ยวกับ การใช้บริการ HM FAX Claims

4.1 สามารถขอรับบริการแฟกซ์เคลมสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพระยะยาวได้ที่ รพ. ใดบ้าง?

ผู้เอาประกันภัยสามารถใช้บริการแฟกซ์เคลมสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพระยะยาวได้ที่โรงพยาบาลเครือข่ายของ พรูเด็นเชียลฯ ทุกแห่ง สามารถตรวจสอบรายชื่อโรงพยาบาลเครือข่ายได้ที่ Prudential website

4.2 การขอรับบริการแฟกซ์เคลมสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพระยะยาวต้องใช้เอกสารและหลักฐานอะไรบ้าง?

เอกสารและหลักฐานประกอบการขอใช้บริการ มีดังนี้

  • บัตรประจำตัวผู้ถือกรมธรรม์ บมจ. พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) หรือบัตรประจำตัวประชาชน

  • ผู้เอาประกันภัยลงนามในใบยืนยันการขอใช้สิทธิแฟกซ์เคลมสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพระยะยาว

4.3 หากผู้เอาประกันภัยมีสิทธิเบิกค่ารักษาพยายาลกับที่อื่น สามารถใช้สิทธิแฟกซ์เคลมได้หรือไม่?
  • หากผู้เอาประกันภัยมีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลกับที่อื่นหรือที่ทำงาน แล้วเลือกใช้สิทธิ Fax Claims จากสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพระยะยาว HM ก่อนที่จะใช้สิทธิกับที่อื่นๆ ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเพียงสำเนาใบเสร็จรับเงินพร้อมใบแสดงรายการค่าใช้จ่ายเป็นหลักฐาน (ไม่ใช่ใบเสร็จรับเงินต้นฉบับ) เนื่องจากพรูเด็นเชียลฯ เป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในตารางผลประโยชน์ในกรมธรรม์ให้กับโรงพยาบาล ดังนั้น โรงพยาบาลจะส่งใบเสร็จรับเงินต้นฉบับให้กับพรูเด็นเชียลฯ แต่หากมีค่าใช้จ่ายส่วนต่างผู้เอาประกันภัยจะต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนต่างนั้น ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะได้รับใบเสร็จรับเงินต้นฉบับเฉพาะค่าใช้จ่ายส่วนต่างที่ผู้เอา-ประกันภัยเป็นผู้ชำระเองไปเบิกกับ ที่ทำงาน ประกันสังคม หรือบริษัทประกันอื่นๆ

  • หากผู้เอาประกันภัยมีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลกับที่อื่น แล้วเลือกใช้สิทธิ Fax Claims จากผลประโยชน์ที่ผู้เอาประกันภัยได้รับความคุ้มครองอยู่ก่อน ผู้เอาประกันภัยจะได้รับสำเนาใบเสร็จรับเงินพร้อมใบแสดงรายการค่าใช้จ่ายเป็นหลักฐาน เมื่อออกจากโรงพยาบาลแล้วผู้เอาประกันภัยก็ยังสามารถนำสำเนาใบเสร็จรับเงิน, ใบแสดงรายการค่าใช้จ่าย หนังสือเรียกร้องค่าสินไหม ใบรับรองแพทย์และสำเนาบัตรประชาชนส่งมาเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพระยะยาว HM จากพรูเด็นเชียลฯ ได้อีก เนื่องจากสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพระยะยาว HM นี้เป็นการจ่ายค่าชดเชยฯ แบบเหมาจ่ายตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในตารางผลประโยชน์ในกรมธรรม์ โดยบริษัทฯ ไม่ได้จ่ายตามค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจริง ผู้เอาประกันภัยจะได้รับผลประโยชน์จากสิทธิความคุ้มครองที่มีอยู่แบบเต็มสิทธิ เนื่องจากสามารถใช้สิทธิได้ครบทั้งสองที่ ทั้งที่พรูเด็นเชียลฯ และจากความคุ้มครองอื่นๆที่มีอยู่

4.4 หากผู้เอาประกันภัยลงนามยืนยันใช้สิทธิแฟกซ์เคลมสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพระยะยาวแล้วจะเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกได้หรือไม่?

ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเลือกใช้สิทธิเรียกร้องฯ Fax Claims ดังกล่าวแล้ว และบริษัทฯ ได้ยืนยันการชำระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ให้แก่โรงพยาบาล ผู้เอาประกันภัยจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการเลือกรับค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพระยะยาวเป็นวิธีอื่นได้อีกไม่ว่าด้วยกรณีใดๆ

คำถามเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีฯ

5.1 สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยที่ได้รับความคุ้มครองก่อน 1 ม.ค. 2552 และมีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป สามารถนำเบี้ยประกันภัยไปใช้เป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีเต็มจำนวน แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเบี้ยประกันชีวิต (สำหรับลูกค้าที่ซื้อประกันชีวิตตั้งแต่ 1 มกราคม 2552)
Download

รายการผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่สามารถนำเบี้ยประกันคุ้มครองชีวิตมาใช้เป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 172 ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 30 ธ.ค. 2551
Download

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเบี้ยประกันสุขภาพ ฉบับที่ 315 ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 25 ธ.ค. 2560
Download

5.2 ภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญของผู้มีเงินได้

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 194)เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญของผู้มีเงินได้ตามวรรคสามของข้อ 2(61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
Download