บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
บริษัทฯ ได้พัฒนากรอบการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยการสร้างนโยบาย มาตรฐานและแนวทางปฏิบัติเพื่อสนับสนุน กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ในการปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบในระยะยาวอย่างมีความน่าเชื่อถือและยั่งยืน
กรอบการกำกับดูแลกิจการที่ดีนี้ ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อช่วยให้คณะกรรมการฯ มั่นใจได้ว่าหลักการของการกำกับดูแลกิจการที่ดีนั้นได้รับการนำไปปฏิบัติ และมีโครงสร้างการกำกับดูแลกิจการที่เหมาะสม มีกระบวนการและกลไกการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพในการควบคุม กำกับดูแล ตรวจสอบ และติดตามการดำเนินงานของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญในการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และเชื่อมั่นว่ากระบวนการกำกับดูแลกิจการที่ดี ถือเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ผนวกกับเจตนารมณ์ของกลุ่มบริษัทพรูเด็นเชียลคือ การช่วยให้ผู้คนไปให้ถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดในชีวิต โดยมุ่งดำเนินการให้เรื่องการดูแลสุขภาพเป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงได้ และในราคาที่ย่อมเยา รวมทั้งการเข้าถึงบริการทางการเงิน กลุ่มบริษัทพรูเด็นเชียลจึงได้มีการกำหนดระเบียบข้อบังคับในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทพรูเด็นเชียลขึ้น ที่กำหนดคุณค่าและมาตรฐานในการดำเนินการกำกับดูแลการดำเนินงาน ระบุไว้ใน "คู่มือหลักการบรรษัทภิบาลของกลุ่มบริษัทพรูเด็นเชียล" (Group Governance Manual) ระเบียบข้อบังคับในการดำเนินธุรกิจนี้ เพื่อเป็นรากฐานความมั่นคงของบริษัทฯ ในการที่จะดูแลรักษาผลประโยชน์ต่อลูกค้า ผู้ถือหุ้น พันธมิตรทางธุรกิจ คู่แข่งทางธุรกิจ หน่วยงานกำกับดูแล ตลอดจนพนักงานของพรูเด็นเชียลทุกคน ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯ ถือปฏิบัติตามหลักการที่ระบุไว้ในระเบียบข้อบังคับในการดำเนินธุรกิจดังกล่าว
นโยบายการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน
สรุปนโยบายการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันของกลุ่มพรูเด็นเชียลโดยสังเขปซึ่งครอบคลุมถึงการให้และการรับสินบน
บทนำ
พรูเด็นเชียลให้ความสำคัญกับชื่อเสียงด้านการปฏิบัติที่มีจริยธรรม ความน่าเชื่อถือทางการเงินและความไว้วางใจ บริษัทฯ ตระหนักดีว่านอกเหนือจากการกระทำผิดทางอาญาใดๆ แล้ว การมีส่วนร่วมในการติดสินบนนั้นจะส่งผลกระทบเชิงลบกับภาพลักษณ์และชื่อเสียงของบริษัทฯ ด้วยเช่นกัน ฉะนั้น บริษัทฯ จึงมีเจตนารมณ์ที่จะจำกัดความเกี่ยวข้องในการติดสินบนโดย
-
กำหนดนโยบายการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันที่ชัดเจน
-
ฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้ตระหนักและหลีกเลี่ยงการติดสินบนทั้งโดยตนเองและกับผู้อื่น
-
กระตุ้นพนักงานให้มีความระแวดระวังและรายงานเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับการติดสินบน จัดให้มีช่องทางในการสื่อสารที่เหมาะสมให้แก่พนักงาน และรับรองว่าจะจัดการข้อมูลอ่อนไหวเหล่านั้นอย่างเหมาะสม
พรูเด็นเชียลห้ามมิให้มีการทุจริตและการจ่ายหรือรับสินบนไม่ว่าด้วยวัตถุประสงค์ใดๆ
นโยบาย
การติดสินบน หมายถึง การเสนอ การสัญญา การให้ การเชิญชวน หรือการรับ หรือข้อตกลงที่จะรับผลประโยชน์ทางการเงินหรือผลประโยชน์อื่นใด หรือการจูงใจจากบุคคลหรือบริษัทห้างร้าน (ไม่ว่าจะตั้งอยู่ที่ใด และไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ หน่วยงานราชการ บุคคลธรรมดา หรือบริษัทเอกชนก็ตาม) โดยพนักงาน ตัวแทน หรือบุคคลหรือหน่วยงานใดๆ ที่กระทำการแทน
การทุจริต หมายถึง การใช้อำนาจในทางที่ผิดเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว
กลุ่มบริษัทพรูเด็นเชียลห้ามการกระทำดังนี้
การติดสินบนของหรือโดยบุคคลหรือบริษัทฯ ในเขตอำนาจศาลใดๆ ไม่ว่าจะตั้งอยู่ที่ใด และไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ หน่วยงานราชการ บุคคลธรรมดา หรือบริษัทเอกชน หรือโดยพนักงาน ตัวแทน หรือบุคคลหรือหน่วยงานใดๆ ที่กระทำการแทนกลุ่มบริษัทพรูเด็นเชียล เพื่อผลประโยชน์ดังต่อไปนี้
-
รับไว้ซึ่งผลประโยชน์ทางการค้า สัญญา หรือระเบียบข้อบังคับใดๆ เพื่อกลุ่มบริษัทพรูเด็นเชียล ผ่านการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณ
-
รับไว้ซึ่งประโยชน์ส่วนบุคคล ประโยชน์ทางการเงิน หรือผลประโยชน์อื่นใด สำหรับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้น
-
ชักจูงให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของหน่วยงานใดๆ อันเป็นไปในลักษณะสาธารณะ หรือเกี่ยวข้องกับธุรกิจ โดยองค์กร หรือโดยบุคคลที่อยู่ในระหว่างการจ้างงาน
ในขณะที่ปฏิบัติงานในนามกลุ่มบริษัทพรูเด็นเชียล บริษัทฯ ไม่อนุญาตให้กระทำการสนับสนุนและช่วยเหลือทางการเมือง และบริษัทฯ อนุญาตให้ทำกิจกรรมเพื่อการกุศลได้เฉพาะที่เป็นไปตามแนวทางที่องค์กรกำหนดเท่านั้น
การจ่ายเงินเพื่ออำนวยความสะดวก คือการจ่ายเงินใดๆ (ยกเว้นกรณีที่เป็นไปตามกฎหมายและอัตราที่ประกาศไว้เป็นการทั่วไป) เป็นอามิสสินจ้างเพื่อให้มั่นใจว่าจะเกิดการดำเนินการ หรือเพื่อเร่งรัดการดำเนินการใดๆ ที่ดำเนินไปเป็นกิจวัตร หรือการกระทำที่จำเป็นซึ่งผู้จ่ายเงินค่าอำนวยความสะดวกมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย กลุ่มบริษัทพรูเด็นเชียลไม่อนุญาตหรือยินยอมให้กระทำการในลักษณะนี้
คำอธิบายเพิ่มเติม
กลุ่มบริษัทพรูเด็นเชียลตระหนักดีว่าแนวปฏิบัติทางการตลาดมีความแตกต่างกันไปในแต่ละเขตการทำงาน และสิ่งที่เป็นเรื่องปกติและยอมรับได้ในพื้นที่หนึ่งอาจไม่เป็นที่ยอมรับในพื้นที่อื่นก็ได้
นโยบายฉบับนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะห้ามการปฏิบัติที่เป็นการกระทำตามจารีตประเพณีในตลาดหนึ่งๆ ซึ่งมีการปฏิบัติอย่างเหมาะสม หรือบันทึกไว้อย่างถูกต้อง ได้แก่
-
การเลี้ยงรับรองที่เป็นไปตามปกติและเหมาะสม
-
การให้ของขวัญในช่วงเทศกาล หรือวาระพิเศษอื่น
-
การใช้กระบวนการติดตามเร่งด่วนที่ทุกคนกระทำได้โดยชำระค่าใช้บริการ
การป้องกัน การตรวจพบ และการรายงานการให้สินบน หรือคอร์รัปชัน เป็นความรับผิดชอบของทุกคนที่อยู่ภายในหรือเกี่ยวข้องกับกลุ่มพรูเด็นเชียล การรายงานสามารถกระทำได้ในทางลับผ่านช่องทางโทรศัพท์สายด่วนของกลุ่มพรูเด็นเชียล (+44 (0)20 7548 2999) หรือส่งเป็นลายลักษณ์อักษรมาตามที่อยู่ดังต่อไปนี้
Director of Group Resilience
Prudential plc
12 Arthur Street
London EC4R 9AQ
United Kingdom
สำหรับประเทศไทย
เว็บไซต์: www.prudentialspeakout.ethicspoint.com
โทรฟรีระหว่างประเทศ: 1800-014-522
อีเมล: pcahelpline@prudential.com.hk
หลักการบริการความเสี่ยง
การบริหารความเสี่ยงขององค์กร (Enterprise Risk Management: ERM)
การบริหารความเสี่ยงนับเป็นกระบวนการบริหารที่สำคัญของบริษัทฯ ในการป้องกัน รักษา และสนับสนุนบริษัทฯ เพื่อสร้างผลตอบแทนอันตอบสนองต่อความเสี่ยงอย่างสูงสุด และทำให้อัตราผลตอบแทนที่ได้เปรียบนี้ มีส่วนช่วยสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจ ในขณะที่ยังคงรักษาความแข็งแกร่งทางการเงิน ทำให้ฝ่ายบริหารสามารถจัดการกับความไม่แน่นอนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งช่วยลดผลกระทบและความไม่แน่นอนต่อทิศทาง กลยุทธ์ กระบวนการตัดสินใจเชิงธุรกิจ และการดำเนินงานของบริษัทฯ
บริษัทฯ นำนโยบายความเสี่ยงมาใช้ เพื่อส่งเสริมให้บริษัทฯ มีการบริหารจัดการความเสี่ยงระดับองค์กรที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การจัดสรรทรัพยากรเพื่อใช้ในการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสมและสามารถรับผิดชอบต่อการชำระคืนแก่ผู้ถือกรมธรรม์ตามสัญญาได้อย่างสมบูรณ์ อีกทั้งเพื่อส่งเสริมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและเพื่อเสริมสร้างความน่าเชื่อถือของบริษัทฯ และอุตสาหกรรมโดยรวม
กระบวนการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ ประกอบไปด้วยกระบวนการระบุความเสี่ยง การวัดผลและการประเมินความเสี่ยง การบริหารและการควบคุมความเสี่ยง และการติดตามดูแลและการรายงานความเสี่ยง
การบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน (Asset Liability Management: ALM)
การบริหารสินทรัพย์และหนี้สินเป็นหน้าที่หลักประการหนึ่งของคณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน ซึ่งมีหน้าที่ในการติดตาม ตรวจสอบ และวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อความเพียงพอของเงินกองทุนบริษัทฯ โดยพิจารณาจากความเสี่ยงที่รับได้ แนวโน้มทางเศรษฐกิจ ผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์ที่ไม่แน่นอน ความคาดหวังและผลกำไรที่สมเหตุสมผลที่ผู้ถือกรมธรรม์มีต่อบริษัทฯ
บริษัทฯ มีนโยบายในการจับคู่อายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ (duration matching) โดยกำหนดเป้าหมายอายุเฉลี่ยของสินทรัพย์ให้ใกล้เคียงกับอายุเฉลี่ยของหนี้สิน เพื่อลดความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในตลาดในอนาคต และบริหารจัดการกระแสเงินสดจากการลงทุน เพื่อรับรองว่าจะเป็นไปตามข้อกำหนดตามสัญญาของผู้ถือกรมธรรม์
ความเสี่ยงจากการรับประกันภัย
บริษัทฯ รับประกันภัยความเสี่ยงโดยพิจารณาจากปัจจัยด้านสุขภาพและด้านการเงินของลูกค้า ทั้งนี้ อาจมีปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องพิจารณาในฐานะส่วนหนึ่งของกระบวนการพิจารณารับประกัน โดยอ้างอิงจากอาชีพและรูปแบบการใช้ชีวิตของความเสี่ยงที่กำลังพิจารณา นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังใช้หลักของการพิจารณาความเสี่ยงในองค์รวมตามความเหมาะสม และกระบวนการพิจารณารับประกันข้างต้นยังต้องสอดคล้องกับการบริหารจัดการประกันภัยต่อของบริษัทฯ ด้วย
การบริหารจัดการประกันภัยต่อ
การบริหารจัดการประกันภัยต่อ หมายถึงกระบวนการรับความเสี่ยงหรือส่งผ่านความเสี่ยงไปยังผู้รับประกันภัยต่อ บริษัทฯ บริหารจัดการประกันภัยต่อโดยพิจารณาจากระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เพื่อสร้างความมั่นใจว่ามีการจัดการเงินทุนที่เพียงพอ ความเสี่ยงที่นำมาพิจารณานั้น ได้แก่ ความเสี่ยงขนาดใหญ่ (ทั้งระดับบุคคล หรือความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน) การกระจุกตัวของความเสี่ยง และความเสี่ยงด้านสุขภาพที่กำลังเกิดขึ้น บริษัทฯ มีการทบทวนรายชื่อผู้รับประกันภัยต่อของบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอ เช่นเดียวกับการสนองตอบความต้องการใหม่ๆ ของลูกค้า
การสรรหาและการแต่งตั้งกรรมการ กรรมการอิสระ และผู้บริหาร
การสรรหาและแต่งตั้งกรรมการ
บริษัทฯ พิจารณาสรรหาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิโดยพิจารณาคุณสมบัติต่างๆ ตามข้อกฎหมายและข้อกำหนด ทักษะ ประสบการณ์ และความชำนาญที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อทดแทนกรรมการในกรณีครบวาระ ลาออก หรือพ้นสภาพการเป็นกรรมการ พร้อมทั้งเสนอเพื่อการอนุมัติต่อสำนักงานบริษัทพรูเด็นเชียลภูมิภาคเอเชีย คณะกรรมการบริษัทฯ และ/หรือขออนุมัติต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น ตามข้อกำหนดของบริษัทฯ
การสรรหาและแต่งตั้งผู้บริหาร
นโยบายการสรรหาผู้บริหารระดับสูงของบริษัทฯ หรือการจ้างผู้บริหารระดับสูง คือการสรรหาและคัดเลือกบุคคลสำหรับตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร และผู้บริหารระดับสูงที่รายงานตรงต่อประธานกรรมการบริหาร กระบวนการประเมินและวัดผลในการสรรหาจะสมบูรณ์ได้ต่อเมื่อมีการสัมภาษณ์โดยผู้จัดการ 2 ท่าน อาทิ ประธานกรรมการบริหาร และผู้บริหารจากสำนักงานส่วนภูมิภาค การประเมินภาวะผู้นำโดยการสัมภาษณ์และ/หรือใช้แบบทดสอบอื่นใด จะถูกกำหนดโดยฝ่ายทรัพยากรบุคคลสำนักงานภูมิภาค และบริษัทฯ จะรับผิดชอบการตรวจสอบคุณสมบัติก่อนเข้าทำงานอย่างเป็นทางการ
ระเบียบข้อบังคับในการดำเนินธุรกิจ
มาตรฐานต่อไปนี้นำเสนอภาพรวมของข้อกำหนดในคู่มือหลักการบรรษัทภิบาลของกลุ่มบริษัทพรูเด็นเชียลที่เกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ อันเป็นหลักปฏิบัติสำหรับพนักงานบริษัทฯ ทุกคน ซึ่งพนักงานทุกคนจะต้องลงนามรับรองเป็นรายบุคคลในแต่ละปี
มาตรฐาน 1 - อาชญากรรมทางการเงิน
-
การปกป้องธุรกิจจากอาชญากรรมทางการเงินถือเป็นความรับผิดชอบของพนักงานทุกคน พนักงานต้องผ่านการฝึกอบรมเรื่องอาชญากรรมทางการเงิน (เช่น การต่อต้านการติดสินบนและการทุจริต การต่อต้านการฟอกเงินและการคว่ำบาตร และการป้องกันการฉ้อโกง) หากพนักงานไม่ผ่านเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในการฝึกอบรมหรือนโยบาย (เช่น การแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับของขวัญและการเลี้ยงรับรอง การให้หรือรับสินบน) อาจนำไปสู่การลงโทษทางวินัยหรือกระทั่งการให้พ้นสภาพจากการเป็นพนักงาน
-
พนักงานที่ทราบหรือสงสัยว่ามีการฟอกเงินหรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่รายงานการฟอกเงิน (MLRO) สำหรับกรณีการติดสินบนหรือการทุจริต ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ป้องกันการติดสินบนและการทุจริต (ABCO) ส่วนเรื่องเกี่ยวกับการฉ้อโกงนั้น ต้องแจ้งทีมอาชญากรรมทางการเงิน
-
พนักงานต้องปกป้องธุรกิจจากอาชญากรรมด้านภาษี
มาตรฐาน 2 - ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
-
พนักงานต้องพยายามระบุและหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจส่งผลให้เกิดการขัดกันทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นได้และเกิดขึ้นจริง
-
พนักงานต้องผ่านการฝึกอบรมเกี่ยวกับการขัดกันทางผลประโยชน์ และแจ้งให้ผู้จัดการในสายการบังคับบัญชาหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องทราบ หากสามารถระบุความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นเพื่อให้ดำเนินการตามขั้นตอนจัดการสถานการณ์ได้
มาตรฐาน 3 - ข้อมูลและการซื้อขาย
-
พนักงานต้องปฏิบัติตามข้อบังคับที่กำหนดในกิจกรรมการซื้อขายหลักทรัพย์ของตน
-
พนักงานที่ประสงค์จะซื้อขายหลักทรัพย์พรูเด็นเชียลต้องปฏิบัติตามกฎการซื้อขายหลักทรัพย์
-
พนักงานรายงานทางการเงินไม่สามารถทำการซื้อขายได้ในช่วงตลาดปิด ส่วนพนักงานที่ถูกจำกัดสิทธิ์ก็ไม่สามารถทำการซื้อขายได้ในช่วงตลาดปิดและต้องได้รับอนุญาตก่อนทำการซื้อขายในช่วงตลาดเปิดทำการ
-
พนักงานต้องรายงานการละเมิดที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการป้องกันข้อมูลและข้อมูลภายในให้แก่ประธานเจ้าหน้าที่บริหารทราบ
-
พนักงานควรปฏิบัติตามนโยบายการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลของกลุ่มบริษัทฯ เพื่อช่วยปกป้องข้อมูลที่ใช้ในทุกด้านของการดำเนินธุรกิจ ปกป้องกลุ่มบริษัทฯ จากผลกระทบและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมที่ไม่ได้รับอนุญาต ตลอดจนปกป้องลูกค้า คู่ค้า และเพื่อนพนักงานด้วยการป้องกันไม่ให้ผู้อื่นเข้าถึงและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองและข้อมูลบริษัทอย่างไม่ถูกต้อง
มาตรฐาน 4 - การสื่อสาร
-
พนักงานต้องได้รับอนุญาตจากทีมสื่อสารองค์กรที่เกี่ยวข้องก่อนจะสื่อสารในเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจ หรือข้อมูลทางวิชาชีพใดๆ ไปยังภายนอกผ่านสื่อสาธารณะ ซึ่งรวมถึงช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ และก่อนที่จะตอบรับคำเชิญไปบรรยายในการประชุมหรืองานบรรยายอื่น ๆ หากมีข้อซักถามจากสื่อมวลชนไม่ว่าในรูปแบบใดให้ส่งต่อไปยังทีมสื่อสารที่เกี่ยวข้องทันที
-
กลุ่มบริษัทพรูเด็นเชียลมีนโยบายไม่ให้การรับรองแก่บุคคลที่สาม และหากมีคำร้องใดๆ ให้ส่งต่อไปยังทีมสื่อสารที่เกี่ยวข้อง
-
พนักงานต้องไม่ออกประกาศสื่อสารภายในองค์กร เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานสื่อสารภายในองค์กรที่เกี่ยวข้อง
-
สื่อสังคมออนไลน์ - หากพนักงานพบความคิดเห็นที่ไม่ถูกต้อง มีลักษณะกล่าวหา หรือความคิดเห็นในแง่ลบเกี่ยวกับกลุ่มบริษัทพรูเด็นเชียลบนสื่อสังคมออนไลน์ ห้ามพนักงานโต้ตอบหรือมีส่วนร่วมในการสนทนานั้นๆ แต่ให้รายงานความคิดเห็นเหล่านั้นไปยังหน่วยงานสื่อสารที่เกี่ยวข้อง
-
พนักงานต้องไม่ติดต่อกับสถาบันทางการเมืองและนักลงทุนในเรื่องเกี่ยวกับกลุ่มบริษัทพรูเด็นเชียล และหากได้รับการติดต่อจากบุคคลเหล่านั้นจะต้องแจ้งไปยังผู้อำนวยการฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ทันที
-
พนักงานต้องไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับหรือข้อมูลอ่อนไหวที่มีผลต่อการแข่งขัน อันเกี่ยวกับกลุ่มบริษัทพรูเด็นเชียล ลูกค้า หรือผู้ให้บริการของบริษัทฯ ให้กับมิตรทางธุรกิจหรือคู่แข่งของบริษัทฯ หากพนักงานได้รับข้อมูลอ่อนไหวดังกล่าวเกี่ยวกับมิตรทางธุรกิจหรือคู่แข่งของบริษัทฯ (นอกเหนือจากเพื่อวัตถุประสงค์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย) พวกเขาต้องแจ้งให้ทีมกฎหมายทราบทันที
มาตรฐาน 5 - บุคลากร
-
เพื่อให้แน่ใจว่าการยอมรับในความหลากหลายและการมีส่วนร่วมทางสังคมเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร รวมถึงการขจัดการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ พนักงานทุกคนจะได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงถึง เพศ เชื้อชาติ อายุ ชาติพันธุ์ สถานภาพการสมรส การตั้งครรภ์และการคลอดบุตร สถานะความสัมพันธ์แบบคู่ชีวิต การเลือกเพศ ศาสนาหรือความเชื่อ รสนิยมทางเพศ ความทุพพลภาพ หรือสถานภาพงานนอกเวลา / งานประจำ
การแจ้งเบาะแส (Speak Out)
พนักงานมีความรับผิดชอบส่วนบุคคลในการส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมและค่านิยมขององค์กรในที่ทำงาน หากพนักงานพบเบาะแสว่าเพื่อนร่วมงานไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในหลักการดำเนินธุรกิจนี้ พนักงานไม่ควรลังเลที่จะใช้ช่องทางในการแจ้งเบาะแสการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม (Speak Out) โดยการแจ้งเบาะแสนี้จะเป็นความลับ การฝึกอบรมจึงเป็นสิ่งจำเป็น พนักงานสามารถแจ้งข้อกังวลที่ได้โดยตระหนักว่าเรื่องดังกล่าวจะเป็นความลับ กลุ่มบริษัทฯ จะไม่มีการตอบโต้กับผู้แจ้งข้อกังวลใดๆ ผ่านช่องทางดังกล่าว
การรายงานสามารถกระทำได้ในทางลับผ่านช่องทางเว็บไซต์ โทรศัพท์สายด่วน หรือส่งเป็นลายลักษณ์อักษรมาตามอีเมลดังรายละเอียดต่อไปนี้
เว็บไซต์: www.prudentialspeakout.ethicspoint.com
โทรฟรีระหว่างประเทศ: 1800-014-522
อีเมล: pcahelpline@prudential.com.hk
กระบวนการควบคุมภายในของบริษัทฯ
บริษัทฯ ได้จัดให้มีคู่มือการปฏิบัติงานสำหรับกระบวนการทำงานต่างๆ พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติงาน และกำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบ และขอบเขตอำนาจตามความจำเป็น เพื่อให้มั่นใจในประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานต่างๆ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้จัดให้มีการสอบทาน ติดตาม และประเมินผลความเพียงพอของระบบควบคุมภายในอย่างสม่ำเสมอ และมีหน่วยงานตรวจสอบภายในของกลุ่มบริษัทฯ ที่เป็นอิสระ ประเมินความเพียงพอของการควบคุมภายในอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และรายงานผลต่อคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัทฯ
คณะกรรมการบริษัท
คณะกรรมการบริษัท
คณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดกรอบการกำกับดูแลกิจการที่ดี กำหนดกลยุทธ์และนโยบายที่สำคัญ ติดตามการดำเนินงานของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง ดูแลให้บริษัทฯ มีกลไกในการควบคุมและกำกับดูแลที่มีประสิทธิผล เพื่อให้บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรม โปร่งใส รับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียภายใต้หลักการกํากับดูแลกิจการที่ดี และสร้างคุณค่าให้บริษัทฯ อย่างเหมาะสมในระยะยาว คณะกรรมการบริษัทจะต้องจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการอย่างน้อยทุกไตรมาส แต่สามารถจัดประชุมนอกเหนือจากที่กำหนดไว้เป็นครั้งคราวได้ หากมีเรื่องอื่นๆ ที่ต้องพิจารณาเป็นกรณีรีบด่วนและมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ
คณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วยกรรมการทั้งหมด 7 ท่าน ดังนี้
ชื่อ |
ตำแหน่ง |
1. นายเดนนิส เธียน อูน แทน |
ประธานคณะกรรมการ |
2. นายบัณฑิต เจียมอนุกูลกิจ |
กรรมการผู้จัดการ |
3. นายสุภัค ศิวะรักษ์ |
ประธานกรรมการตรวจสอบ และกรรมการอิสระ |
4. นายธัชพล โปษยานนท์ |
ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง และกรรมการอิสระ |
5. นายศุภพงษ์ อัศวินวิจิตร |
กรรมการอิสระ |
6. นายกวินธร อัตถากร |
กรรมการอิสระ |
7. นายเบนจามิน เจมส์ บุลเมอร์ |
กรรมการ |
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคณะกรรมการบริษัท สามารถดูรายละเอียดได้ที่ https://www.prudential.co.th/corp/prudential-th/th/about-prudential-thailand/management-team/
คณะผู้บริหาร
คณะผู้บริหารมีหน้าที่ในการวางแผนกลยุทธ์ และตัดสินใจในการบริหารองค์กร ที่เกี่ยวข้องกับพันธกิจ วิสัยทัศน์ และค่านิยมองค์กรในการบริหารงาน และพิจารณาการปฏิบัติงานและสถานการณ์ทางการเงินของธุรกิจ โดยจะต้องเสนอแผนธุรกิจและผลสำเร็จของแผน อีกทั้ง ต้องรับผิดชอบต่อการปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายการกำกับดูแลของบริษัทฯ และข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง การดูแลเพื่อควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงให้แก่ธุรกิจ คณะผู้บริหารจะจัดประชุมอย่างน้อยทุกเดือน โดยสามารถจัดประชุมนอกเหนือจากนี้เป็นครั้งคราวได้หากมีเรื่องอื่นๆ เพื่อดำเนินการพิจารณา
คณะผู้บริหารประกอบด้วยสมาชิก 7 ท่าน ได้แก่
ชื่อ |
ตำแหน่ง |
1. นายบัณฑิต เจียมอนุกูลกิจ |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ |
2. นายเคลิก หว่อง |
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงบประมาณ |
3. นายมาร์ติน สตีเว่น แบร์รี่ |
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารความเสี่ยง |
4. นางสาวเปสลารี ธีระสาสน์ |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานลูกค้าและเทคโนโลยี |
5. นางสาวรสนันท์ จันเกษม |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานทรัพยากรบุคคล |
6. นายอิฎฐ์ อภิรักษ์ติวงศ์ |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานพัฒนาองค์กร |
7. นายดอน จรรย์ศุภรินทร์ |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการพาณิชย์ |
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคณะผู้บริหาร สามารถดูรายละเอียดได้ที่ https://www.prudential.co.th/corp/prudential-th/th/about-prudential-thailand/management-team/
คณะกรรมการของบริษัทฯ แต่งตั้ง คณะกรรมการภายใต้คณะกรรมการบริษัทเพื่อช่วยสนับสนุนการบริหารของบริษัทฯ และมอบอำนาจให้
1. คณะกรรมการตรวจสอบ
2. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
- คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. คณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนีสิ้น
4. คณะกรรมการลงทุน
5. คณะกรรมการบริหารลูกค้าสัมพันธ์
6. คณะกรรมการผลิตภัณฑ์
7. คณะกรรมการกำกับดูแลและบริหารจัดการการปฏิบัติงานด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. คณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการบริษัทฯ มอบอำนาจให้คณะกรรมการตรวจสอบ ทำหน้าที่ในการสอบทานรายงานทางการเงิน กรอบนโยบายบริหารความเสี่ยงและกำกับดูแลกิจการ และระบบการควบคุมภายในต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรฐานของกลุ่มบริษัทฯ นอกจากนี้ คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่กำกับดูแลงานด้านการให้ความเชื่อมั่น (assurance work) ของหน่วยงานตรวจสอบภายในของกลุ่มบริษัทฯ และของผู้สอบบัญชีภายนอก การสอบทานประสิทธิภาพของระบบการควบคุมภายในจะทำโดยหน่วยงานตรวจสอบภายในของกลุ่มบริษัทฯ ซึ่งผลของการสอบทานและข้อเสนอแนะจะได้รับการนำเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบ โดยคณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่ในการติดตามผลการแก้ไขและพัฒนากระบวนการทำงานตามข้อเสนอแนะของหน่วยงานตรวจสอบภายในของกลุ่มบริษัทฯ ให้เป็นตามข้อกำหนด คณะกรรมการตรวจสอบจะจัดประชุมทุกไตรมาส โดยสามารถจัดประชุมนอกเหนือจากนี้เป็นครั้งคราวได้หากมีเรื่องอื่นๆ เพื่อดำเนินการพิจารณา
คณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วยสมาชิก 4 ท่าน โดยมีตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทฯ ดังนี้
ชื่อ |
ตำแหน่ง |
1. นายสุภัค ศิวะรักษ์ |
กรรมการอิสระและประธานคณะกรรมการ |
2. นายศุภพงษ์ อัศวินวิจิตร |
กรรมการอิสระ |
3. นายธัชพล โปษยานนท์ |
กรรมการอิสระ |
4. นายเบนจามิน เจมส์ บุลเมอร์ |
กรรมการ |
2. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
คณะกรรมการบริษัทฯ มอบอำนาจให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ทำหน้าที่ในการช่วยคณะกรรมการบริษัทฯ ในการกำหนดแนวทางและกำกับดูแลระดับความเสี่ยงที่ยอมรับโดยรวม ระดับเบี่ยงเบนที่ยอมรับได้ และกลยุทธ์ของบริษัทฯ รวมถึงกำกับดูแลและให้คำแนะนำคณะกรรมการบริษัทฯ สำหรับความเสี่ยงในปัจจุบันและที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต (รวมถึงความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามข้อกำหนด) สอบทานและอนุมัติกรอบการบริหารความเสี่ยง และติดตามดูแลความมีประสิทธิผล และการปฏิบัติตามนโยบายด้านความเสี่ยงต่างๆ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงควรมีการจัดการประชุมไม่ต่ำกว่า 4 ครั้งต่อปี โดยประธานฯ หรือสมาชิกอาจเรียกให้มีการประชุมเพิ่มเติมเมื่อใดก็ได้ หากเห็นว่ามีประเด็นที่อยู่ในการดูแลของคณะกรรมการฯ
คณะกรรมการฯ ควรประกอบด้วยสมาชิกขั้นต่ำ 5 ท่าน โดยอย่างน้อย 2 ท่านต้องประกอบด้วยกรรมการอิสระที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร ซึ่งในที่นี้รวมถึงประธานกรรมการด้วย ดังนี้
ชื่อ |
ตำแหน่ง |
1. ดร.ธัชพล โปษยานนท์ |
ประธานที่ประชุม - กรรมการอิสระที่ไม่ใช่ผู้บริหาร |
2. ดร.สุภัค ศิวะรักษ์ |
สมาชิก - กรรมการอิสระที่ไม่ใช่ผู้บริหาร |
3. นายกวินธร อัตถากร |
สมาชิก - กรรมการอิสระที่ไม่ใช่ผู้บริหาร |
4. นายเดนนิส เธียน อูน แทน |
สมาชิก - กรรมการ |
5. นายบัณฑิต เจียมอนุกูลกิจ |
สมาชิก - กรรมการบริหาร |
- คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะกรรมการบริษัทฯ มอบอำนาจให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information & Technology Risk Management Committee) ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล รวมถึงการใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้สอดคล้องกับนโยบายของบริษัทฯ และข้อกำหนดตามกฎหมาย
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วยสมาชิก 4 ท่าน ดังนี้
ชื่อ |
ตำแหน่ง |
1. นายมาร์ติน สตีเว่น แบร์รี่ |
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารความเสี่ยง (ประธาน) |
2. นายบัณฑิต เจียมอนุกูลกิจ |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ |
3. นางสาวเปสลารี ธีระสาสน์ |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานลูกค้าและเทคโนโลยี |
4. นางสายพิณ โชคนำกิจ |
ที่ปรึกษาอาวุโส |
3. คณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน
คณะกรรมการบริษัทฯ มอบอำนาจให้คณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน มีหน้าที่กำหนดทิศทางการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน รวมถึงการบริหารการลงทุน บริหารเงินกองทุนของบริษัทฯ และการบริหารสภาพคล่อง การประกันภัยต่อ และการบริหารผลิตภัณฑ์ที่มีผลบังคับ คณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สินจะจัดประชุมอย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี โดยสามารถจัดประชุมนอกเหนือจากนี้เป็นครั้งคราวได้หากมีเรื่องอื่นๆ เพื่อดำเนินการพิจารณา
คณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน ประกอบไปด้วยสมาชิกอย่างน้อย 3 ท่าน ดังนี้
ชื่อ |
ตำแหน่ง |
1. นายเคลิค หว่อง |
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงบประมาณ (ประธาน) |
2. นายบัณฑิต เจียมอนุกูลกิจ |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ |
3. นายเหยาตั๊ก ชุง โทนี่ |
หัวหน้าฝ่ายบริหารเงินทุนและลงทุน |
4. นายมาร์ติน สตีเว่น แบร์รี่ |
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารความเสี่ยง |
5. นายดันแคน วิเวียน มอร์ริส |
ผู้อำนวยการฝ่ายคณิตศาสตร์ประกันภัยประจำบริษัทฯ |
4. คณะกรรมการการลงทุน
คณะกรรมการบริษัทฯ มอบอำนาจให้คณะกรรมการลงทุน (Investment Committee) ซึ่งรายงานตรงต่อคณะกรรมการบริษัทฯ ทำหน้าที่กำหนดและให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับนโยบายกลยุทธ์การลงทุนโดยรวมและแนวทางการลงทุนของบริษัทฯ และนำเสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทฯ รวมทั้งคณะกรรมการลงทุนยังมีหน้าที่พิจารณาอนุมัติแผนการลงทุนและการบริหารความเสี่ยงจากการลงทุน กำกับดูแลและสอบทานการลงทุนให้เป็นไปตามนโยบายการลงทุน นโยบายการบริหารความเสี่ยง ระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนและข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ คณะกรรมการลงทุนยังมีหน้าที่กำกับดูแลเรื่องธรรมาภิบาล ความโปร่งใสและการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมการลงทุน กำกับดูแล ระบบงาน บุคลากรและข้อมูลที่ใช้ประกอบการลงทุนให้มีความเพียงพอต่อการดำเนินการ บริหารเงินลงทุนตามนโยบายการลงทุน ทั้งนี้ คณะกรรมการลงทุนรายงานผลการลงทุนให้คณะกรรมการบริษัทฯ รับทราบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
คณะกรรมการลงทุนจะจัดประชุมอย่างน้อยทุกไตรมาส โดยสามารถจัดประชุมนอกเหนือจากนี้เป็นครั้งคราวได้หากมีเรื่องอื่นๆ เพื่อดำเนินการพิจารณา
คณะกรรมการลงทุนประกอบไปด้วยสมาชิก ดังนี้
ชื่อ |
ตำแหน่ง |
1. นายเคลิค หว่อง |
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงบประมาณ (ประธาน) |
2. นายมาร์ติน สตีเว่น แบร์รี่ |
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารความเสี่ยง |
3. นายดอน โก่ว |
ผู้อำนวยการฝ่ายลงทุน, ตัวแทนจาก Prudential Group |
4. นายรีจิส เลลอง |
ผู้ให้คำแนะนำและแก้ปัญหาการลงทุน, ตัวแทนจาก Eastspring Investment (Singapore) Limited |
5. คณะกรรมการบริหารลูกค้าสัมพันธ์
คณะกรรมการบริษัทฯ มอบอำนาจให้คณะกรรมการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ทำหน้าที่ในการวางทิศทางเชิงกลยุทธ์ และดูแลจัดการเพื่อยกระดับประสบการณ์การใช้บริการของลูกค้า รวมถึงการสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจ และผลักดันให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางในการดำเนินงานของบริษัทฯ อันจะนำไปสู่การเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน
คณะกรรมการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ประกอบด้วยสมาชิก 8 ท่าน ดังนี้
ชื่อ |
ตำแหน่ง |
1. นายบัณฑิต เจียมอนุกูลกิจ |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ (ประธาน) |
2. นายมาร์ติน สตีเว่น แบร์รี่ |
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารความเสี่ยง |
3. นายเคลิค หว่อง |
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงบประมาณ |
4. นางสาวเปสลารี ธีระสาสน์ |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานลูกค้าและเทคโนโลยี |
5. นายดอน จรรย์ศุภรินทร์ |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการพาณิชย์ |
6. นายอิฎฐ์ อภิรักษ์ติวงศ์ |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานพัฒนาองค์กร |
7. นายศิวา ชานเกอร์ จายาราจ |
ผู้อำนวยการฝ่ายภาพลักษณ์องค์กร |
8. นายเฉลิมพล ชัยประเสริฐ |
ผู้อำนวยการฝ่ายงานปฏิบัติการธุรกิจและบริการลูกค้า |
6. คณะกรรมการกำกับผลิตภัณฑ์
คณะกรรมการบริษัทฯ มอบอำนาจให้คณะกรรมการผลิตภัณฑ์ทำหน้าที่วางกลยุทธ์ ผลิตภัณฑ์ กำกับดูแล และติดตามกระบวนการออกผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการขอยื่นขอรับความเห็นชอบจากสำนักงาน คปภ. ได้ปฏิบัติตามนโยบาย และแนวปฏิบัติที่กำหนด
คณะกรรมการผลิตภัณฑ์ประกอบด้วยสมาชิก 8 ท่าน ดังนี้
ชื่อ |
ตำแหน่ง |
1. นายบัณฑิต เจียมอนุกูลกิจ |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ (ประธาน) |
2. นายมาร์ติน สตีเว่น แบร์รี่ |
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารความเสี่ยง |
3. นายเคลิค หว่อง |
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงบประมาณ |
4. นางสาวเปสลารี ธีระสาสน์ |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานลูกค้าและเทคโนโลยี |
5. นายดอน จรรย์ศุภรินทร์ |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการพาณิชย์ |
6. นายอิฎฐ์ อภิรักษ์ติวงศ์ |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานพัฒนาองค์กร |
7. นายโทโด ทาโนโตะ |
รองประธานอาวุโส สายงานผลิตภัณฑ์ |
8. นายดันแคน วิเวียน มอร์ริส |
ผู้อำนวยการฝ่ายคณิตศาสตร์ประกันภัยประจำบริษัทฯ |
7. คณะกรรมการกำกับดูแลและบริหารจัดการการปฏิบัติงานด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะกรรมการบริษัทฯ มอบอำนาจให้คณะกรรมการกำกับดูแลและบริหารจัดการการปฏิบัติงานด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการกำกับดูแลการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้สอดรับกับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจให้มีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจในอนาคต รวมทั้งความพร้อมในการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์
คณะกรรมการกำกับดูแลและบริหารจัดการการปฏิบัติงานด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วยสมาชิก 7 ท่าน ดังนี้
ชื่อ |
ตำแหน่ง |
1. นางสาวเปสลารี ธีระสาสน์ |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานลูกค้าและเทคโนโลยี (ประธาน) |
2. นายบัณฑิต เจียมอนุกูลกิจ |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ |
3. นายเคลิค หว่อง |
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงบประมาณ |
4. นายดอน จรรย์ศุภรินทร์ |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการพาณิชย์ |
5. นายมาร์ติน สตีเว่น แบร์รี่ |
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารความเสี่ยง |
6. นายอิฎฐ์ อภิรักษ์ติวงศ์ |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานพัฒนาองค์กร |
7. นางสายพิณ โชคนำกิจ |
ที่ปรึกษาอาวุโส |
นโยบายการจ่ายค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนของกรรมการ กรรมการอิสระ
บริษัทฯ มีกระบวนการในการกำหนดค่าตอบแทนของกรรมการอย่างชัดเจน โดยในแต่ละปีจะมีการสอบทานความเหมาะสมของค่าตอบแทนกรรมการ โดยจะพิจารณาถึงขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของกรรมการ เพื่อให้มั่นใจว่าค่าตอบแทนกรรมการของบริษัทฯ เทียบเคียงได้กับอัตราค่าตอบแทนกรรมการของบริษัทอื่นที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ค่าตอบแทนกรรมการจะได้รับการนำเสนอในที่ประชุมสามัญประจำปีของผู้ถือหุ้น และเมื่อได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะมีผลบังคับใช้ไปจนกว่าที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ค่าตอบแทนกรรมการที่ได้รับอนุมัติจะจ่ายให้เฉพาะกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารเท่านั้น
ค่าตอบแทนของกรรมการที่เป็นพนักงานของบริษัทฯ จะได้รับการพิจารณาเป็นประจำทุกปี โดยเป็นไปตามหลักการและนโยบายค่าตอบแทนของพนักงานของบริษัทฯ ค่าตอบแทนดังกล่าวจะเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการส่งมอบตามแผนทางธุรกิจและกลยุทธ์ และเป็นไปตามข้อกำหนดหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ค่าตอบแทนของผู้บริหาร
ค่าตอบแทนทั้งหมดประกอบด้วย เงินเดือน โบนัสทั้งระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงสวัสดิการต่างๆ ซึ่งสามารถแข่งขันได้กับตลาดในประเทศ โดยค่าตอบแทนของผู้บริหารระดับสูงควรอยู่ในระดับที่เหมาะสมเมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลเงินเดือนจากตลาดภายนอก ส่วนการให้รางวัลในนโยบายค่าตอบแทนจะกำหนดให้ส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจและต้องคำนึงถึงความเสมอภาคของระดับค่าตอบแทนของพนักงานภายในองค์กร ทั้งนี้การให้รางวัลควรจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยนำการประเมินผลปฏิบัติงานประจำปีมาพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างเป้าหมายและผลการดำเนินงานภายในรอบระยะเวลารายงานทางการเงินที่ผ่านมา
