
มลพิษทางอากาศทำให้ตั้งครรภ์ได้ยากขึ้นหรือไม่
เขียนโดย The Health Aisle Team
รองรับทางการแพทย์โดย Jeceli A. Nobleza, BSN-RN, MN, Registered Nurse
มลพิษทางอากาศสามารถทำให้การตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้ยากขึ้น แต่ก็มีสิ่งที่คุณจะสามารถทำได้เพื่อที่จะลดความเสี่ยงนี้เช่นกัน
ภาวะมีบุตรยากคือภาวะที่คุณไม่สามารถตั้งครรภ์ได้หลังจากพยายามแล้วเป็นเวลา 1 ปี
ภาวะมีบุตรยากสามารถเกิดขึ้นกับทุกคนและได้ส่งผลกระทบต่อคนหลายล้านคนทั่วโลก
เกล็ดความรู้:
ผู้คนราว 186 ล้านคนทั่วโลกได้ประสบกับภาวะมีบุตรยาก
ภาวะมีบุตรยากอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ และมลพิษทางอากาศก็อาจเป็นหนึ่งในนั้น แม้จะยังไม่มีสาเหตุแน่ชัดว่ามลพิษทางอากาศทำปฏิกิริยาอะไรกับร่างกายของคนเรา แต่มีงานวิจัยหนึ่งชี้ว่า จากคู่รัก 18,000 คู่ในประเทศจีน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศอนุภาคเล็กจำนวนปานกลางไปถึงสูง มีโอกาสมีบุตรยากกว่าคู่อื่นๆ มากถึง 20 เปอร์เซ็นต์
มลพิษทางอากาศอนุภาคเล็ก เป็นส่วนผสมระหว่างของแข็งอนุภาคเล็กๆ และละอองน้ำในอากาศที่เราหายใจกันอยู่ทุกวันนี้
มลพิษทางอากาศสามารถส่งผลต่อผู้ที่พยายามจะตั้งครรภ์ได้อย่างไรบ้าง?
ผลการศึกษาเกี่ยวกับการปฏิสนธินอกร่างกาย (IVF) หรือทางเลือกการรักษาภาวะมีบุตรยาก พบว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ใกล้ถนนใหญ่ซึ่งมีปริมาณมลพิษทางอากาศที่สูง มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ยากกว่าคนทั่วไป โอกาสในการฝังตัวของไข่ในมดลูกนั้นสำเร็จได้น้อยกว่าปกติ
วิธีการทำ IVF คือการนำไข่ของฝ่ายหญิงมาผสมกับสเปิร์มในห้องแลปเพื่อให้เกิดเป็นตัวอ่อน หลังจากนั้นจึงค่อยนำตัวอ่อนฝังกลับไปที่มดลูกของฝ่ายหญิง
มลพิษทางอากาศส่งผลต่อสเปิร์มได้อย่างไรบ้าง?
จากการศึกษาในไต้หวันและอเมริกาพบว่ามลพิษทางอากาศสามารถส่งผลต่อขนาดและรูปทรงของสเปิร์มได้ มีงานวิจัยหนึ่งชี้ว่ามลพิษทางอากาศทำให้สเปิร์มขยับตัวได้อย่างยากลำบากกว่าที่ควร
นอกจากนี้มลพิษทางอากาศยังอาจทำให้เกิดภาวะทารกน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ การคลอดก่อนกำหนด และยังเพิ่มความเสี่ยงรูปต่างๆ เช่น อาจเป็นสาเหตุของโรคหอบหืด เป็นต้น
เราสามารถทำอะไรได้บ้าง?
-
ใส่ใจในที่อยู่อาศัยของคุณ ตรวจสอบดัชนีมลพิษทางอากาศ ลองหาที่อยู่ที่มีมลพิษทางอากาศน้อย หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้หรือติดกับถนนใหญ่
-
ซื้อเครื่องกรองอากาศ ในอาคารก็มีมลพิษทางอากาศที่มีความเสี่ยงเหมือนกัน เครื่องกรองอากาศจะช่วยกรองควัน สารก่อภูมิแพ้ และเชื้อรา
-
สร้างบรรยากาศที่ดีต่อสุขภาพ ใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น สเปรย์ฉีดผม สี หรือน้ำยาล้างที่ไม่มีสารเคมีหรือทำจากวัตถุดิบทางธรรมชาติ และใช้เครื่องดูดควันระหว่างการทำอาหาร
คุณสามารถปรับสิ่งรอบตัวคุณเพื่อทำให้บรรยากาศรอบตัวของคุณดีขึ้นได้ ลองพูดคุยปรึกษากับผู้ให้บริการทางสุขภาพของคุณหากคุณรู้สึกไม่สบายใจเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์และลูกน้อยของคุณ
References:
-
World Health Organization. (2020, September 14). Infertility. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/infertility
-
Li, Q., Zheng, D., Wang, Y., Rong, L, Hongping, W., Suxin, X., Kang, Y., Cao, Y., Chen, X., Zhu, Y., Xu, S., Chen, Z., Liu, P., & Qiao, J. (2021). Association between exposure to airborne particulate matter less than 2.5 μm and human fecundity in China. Environment International, 146, 106231. https://doi.org/10.1016/j.envint.2020.106231
-
Gaskins, A. J., Hart, J. E., Mínguez-Alarcón, L., Chavarro, J. E., Laden, F., Coull, B. A., Ford, J. B., Souter, I., & Hauser, R. (2018). Residential proximity to major roadways and traffic in relation to outcomes of in vitro fertilization. Environment International, 115, 239–246. https://doi.org/10.1016/j.envint.2018.03.029
-
Legro, R. S., Sauer, M. V., Mottla, G. L., Richter, K. S., Li, X., Dodson, W. C., & Liao, D. (2010). Effect of air quality on assisted human reproduction. Human Reproduction, 25(5), 1317–1324. https://doi.org/10.1093/humrep/deq021
-
Bosco, L., Notari, T., Ruvolo, G., Roccheri, M. C., Martino, C., Chiappetta, R., Carone, D., Bosco, G., Carrillo, L., Raimondo, S., Guglielmino, A., & Montano, L. (2018). Sperm DNA fragmentation: An early and reliable marker of air pollution. Environmental Toxicology and Pharmacology, 58, 243–249. https://doi.org/10.1016/j.etap.2018.02.001
-
Lao, X. Q., Zhang, Z., Lau, A., Chan, T., Chuang, Y. C., Chan, J., Lin, C., Guo, C., Jiang, W. K., Tam, T., Hoek, G., Kan, H., Yeoh, E., & Chang, L. (2018). Exposure to ambient fine particulate matter and semen quality in Taiwan. Occupational and Environmental Medicine, 75, 148–154. https://doi.org/10.1136/oemed-2017-104529
-
Proietti, E., Röösli, M., Frey, U., & Latzin, P. (2013). Air pollution during pregnancy and neonatal outcome: A review. Journal of Aerosol Medicine and Pulmonary Drug Delivery, 26(1). https://doi.org/10.1089/jamp.2011.0932