เลือกภาษา
close
มลพิษทางอากาศทำให้ตั้งครรภ์ได้ยากขึ้นหรือไม่
บทความและข้อมูลด้านสุขภาพโดย Pulse

มลพิษทางอากาศทำให้ตั้งครรภ์ได้ยากขึ้นหรือไม่

 

เขียนโดย ​​The Health Aisle Team
รองรับทางการแพทย์โดย Jeceli A. Nobleza, BSN-RN, MN, Registered Nurse

 

 

มลพิษทางอากาศสามารถทำให้การตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้ยากขึ้น แต่ก็มีสิ่งที่คุณจะสามารถทำได้เพื่อที่จะลดความเสี่ยงนี้เช่นกัน

ภาวะมีบุตรยากคือภาวะที่คุณไม่สามารถตั้งครรภ์ได้หลังจากพยายามแล้วเป็นเวลา 1 ปี

ภาวะมีบุตรยากสามารถเกิดขึ้นกับทุกคนและได้ส่งผลกระทบต่อคนหลายล้านคนทั่วโลก

 

เกล็ดความรู้:

ผู้คนราว 186 ล้านคนทั่วโลกได้ประสบกับภาวะมีบุตรยาก

 

ภาวะมีบุตรยากอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ และมลพิษทางอากาศก็อาจเป็นหนึ่งในนั้น แม้จะยังไม่มีสาเหตุแน่ชัดว่ามลพิษทางอากาศทำปฏิกิริยาอะไรกับร่างกายของคนเรา แต่มีงานวิจัยหนึ่งชี้ว่า จากคู่รัก 18,000 คู่ในประเทศจีน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศอนุภาคเล็กจำนวนปานกลางไปถึงสูง มีโอกาสมีบุตรยากกว่าคู่อื่นๆ มากถึง 20 เปอร์เซ็นต์

มลพิษทางอากาศอนุภาคเล็ก เป็นส่วนผสมระหว่างของแข็งอนุภาคเล็กๆ และละอองน้ำในอากาศที่เราหายใจกันอยู่ทุกวันนี้

มลพิษทางอากาศสามารถส่งผลต่อผู้ที่พยายามจะตั้งครรภ์ได้อย่างไรบ้าง?

ผลการศึกษาเกี่ยวกับการปฏิสนธินอกร่างกาย (IVF) หรือทางเลือกการรักษาภาวะมีบุตรยาก พบว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ใกล้ถนนใหญ่ซึ่งมีปริมาณมลพิษทางอากาศที่สูง มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ยากกว่าคนทั่วไป โอกาสในการฝังตัวของไข่ในมดลูกนั้นสำเร็จได้น้อยกว่าปกติ

 

 

วิธีการทำ IVF คือการนำไข่ของฝ่ายหญิงมาผสมกับสเปิร์มในห้องแลปเพื่อให้เกิดเป็นตัวอ่อน หลังจากนั้นจึงค่อยนำตัวอ่อนฝังกลับไปที่มดลูกของฝ่ายหญิง

มลพิษทางอากาศส่งผลต่อสเปิร์มได้อย่างไรบ้าง?

จากการศึกษาในไต้หวันและอเมริกาพบว่ามลพิษทางอากาศสามารถส่งผลต่อขนาดและรูปทรงของสเปิร์มได้ มีงานวิจัยหนึ่งชี้ว่ามลพิษทางอากาศทำให้สเปิร์มขยับตัวได้อย่างยากลำบากกว่าที่ควร

นอกจากนี้มลพิษทางอากาศยังอาจทำให้เกิดภาวะทารกน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ การคลอดก่อนกำหนด และยังเพิ่มความเสี่ยงรูปต่างๆ เช่น อาจเป็นสาเหตุของโรคหอบหืด เป็นต้น

 

 

เราสามารถทำอะไรได้บ้าง?

  • ใส่ใจในที่อยู่อาศัยของคุณ ตรวจสอบดัชนีมลพิษทางอากาศ ลองหาที่อยู่ที่มีมลพิษทางอากาศน้อย หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้หรือติดกับถนนใหญ่

  • ซื้อเครื่องกรองอากาศ ในอาคารก็มีมลพิษทางอากาศที่มีความเสี่ยงเหมือนกัน เครื่องกรองอากาศจะช่วยกรองควัน สารก่อภูมิแพ้ และเชื้อรา

  • สร้างบรรยากาศที่ดีต่อสุขภาพ ใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น สเปรย์ฉีดผม สี หรือน้ำยาล้างที่ไม่มีสารเคมีหรือทำจากวัตถุดิบทางธรรมชาติ และใช้เครื่องดูดควันระหว่างการทำอาหาร

คุณสามารถปรับสิ่งรอบตัวคุณเพื่อทำให้บรรยากาศรอบตัวของคุณดีขึ้นได้ ลองพูดคุยปรึกษากับผู้ให้บริการทางสุขภาพของคุณหากคุณรู้สึกไม่สบายใจเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์และลูกน้อยของคุณ

 

References:

  1. World Health Organization. (2020, September 14). Infertility. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/infertility

  2. Li, Q., Zheng, D., Wang, Y., Rong, L, Hongping, W., Suxin, X., Kang, Y., Cao, Y., Chen, X., Zhu, Y., Xu, S., Chen, Z., Liu, P., & Qiao, J. (2021). Association between exposure to airborne particulate matter less than 2.5 μm and human fecundity in China. Environment International, 146, 106231. https://doi.org/10.1016/j.envint.2020.106231

  3. Gaskins, A. J., Hart, J. E., Mínguez-Alarcón, L., Chavarro, J. E., Laden, F., Coull, B. A., Ford, J. B., Souter, I., & Hauser, R. (2018). Residential proximity to major roadways and traffic in relation to outcomes of in vitro fertilization. Environment International, 115, 239–246. https://doi.org/10.1016/j.envint.2018.03.029

  4. Legro, R. S., Sauer, M. V., Mottla, G. L., Richter, K. S., Li, X., Dodson, W. C., & Liao, D. (2010). Effect of air quality on assisted human reproduction. Human Reproduction, 25(5), 1317–1324. https://doi.org/10.1093/humrep/deq021

  5. Bosco, L., Notari, T., Ruvolo, G., Roccheri, M. C., Martino, C., Chiappetta, R., Carone, D., Bosco, G., Carrillo, L., Raimondo, S., Guglielmino, A., & Montano, L. (2018). Sperm DNA fragmentation: An early and reliable marker of air pollution. Environmental Toxicology and Pharmacology, 58, 243–249. https://doi.org/10.1016/j.etap.2018.02.001

  6. Lao, X. Q., Zhang, Z., Lau, A., Chan, T., Chuang, Y. C., Chan, J., Lin, C., Guo, C., Jiang, W. K., Tam, T., Hoek, G., Kan, H., Yeoh, E., & Chang, L. (2018). Exposure to ambient fine particulate matter and semen quality in Taiwan. Occupational and Environmental Medicine, 75, 148–154. https://doi.org/10.1136/oemed-2017-104529

  7. Proietti, E., Röösli, M., Frey, U., & Latzin, P. (2013). Air pollution during pregnancy and neonatal outcome: A review. Journal of Aerosol Medicine and Pulmonary Drug Delivery, 26(1). https://doi.org/10.1089/jamp.2011.0932