เลือกภาษา
close
NCF

“เลี้ยงถูก ลูกดี”

ด้วยกรอบการดูแลเด็กปฐมวัย Nurturing Care

 

รู้มั้ยว่าช่วงอายุ 0-6 ปี เป็นนาทีทองของการเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองของเด็ก

เป็นช่วงที่สมองของเด็กจะมีพัฒนาการได้เร็วที่สุด 

พ่อแม่ผู้ปกครองจึงไม่ควรจะพลาดช่วงเวลาสำคัญในการกระตุ้นพัฒนาการทางสมองนี้ไป

และหันมาเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดในทุก ๆ ด้าน

 

กรอบการดูแลอย่างเอาใจใส่ หรือ Nurturing Care คืออะไร

องค์การอนามัยโลก องค์การยูนิเซฟ ธนาคารโลก (World Bank) ร่วมกับภาคีอื่น ๆ จัดทำกรอบการดูแลเด็กปฐมวัย หรือ Nurturing Care Framework (NCF) เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้เข้าใจหลักการ 5 ข้อในการดูแลเด็กให้เติบโตขึ้นมาอย่างมีศักยภาพ

photo1

 

มีสุขภาพดี

สุขภาพที่ดีเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การเรียนรู้เต็มศักยภาพ ทั้งเด็กและผู้ดูแล ควรมีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี เพราะสุขภาพของผู้ดูแลย่อมส่งผลถึงความสามารถในการดูแลเด็กอย่างเต็มที่ด้วย

  • มีการส่งเสริมสุขภาพ ทั้งกายและใจกัน

  • การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยการได้รับวัคซีน อย่างครบถ้วน

  • การติดตามการเจริญเติบโต

  • การเข้าถึงบริการสาธารณสุขเพื่อป้องกันโรคและดูแลรักษา

  • ดูแลความสะอาดและป้องกันโรคต่าง ๆ

  • การดูแลเด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการหรือมีความพิการ

 

 

มีโภชนาการที่เพียงพอ

โภชนาการของแม่ตั้งแต่ตั้งครรภ์และเด็ก เพราะภาวะโภชนาการของแม่ตั้งแต่ตั้งครรภ์นั้นส่งผลต่อสุขภาพและการพัฒนาของเด็กได้

  • การดูแลโภชนาการของแม่ตั้งครรภ์

  • การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

  • อาหารตามวัยที่มีคุณภาพ

  • การเสริมสารอาหารสำหรับแม่และเด็ก (ตามความจำเป็น)

  • การออกกำลังกายและนอนหลับอย่างเพียงพอ

  • การดูแลรักษาภาวะทุพโภชนาการ

  • การป้องกันโรคอ้วนและน้ำหนักเกิน

 

 

 

การปกป้องคุ้มครองและความปลอดภัย

สิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับเด็กและครอบครัว ปราศจากอันตรายต่อร่างกาย ความเครียด ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม

  • การจดทะเบียนเกิด

  • การเข้าถึงอาหารและน้ำสะอาด

  • อากาศที่สะอาด

  • สุขอนามัยและสภาพแวดล้อมที่ดี

  • ปกป้องเด็กจากความรุนแรง การล่วงละเมิด การถูกทอดทิ้ง

  • พื้นที่ปลอดภัยสำหรับเล่น

  • ความช่วยเหลือทางสังคมสำหรับครอบครัวที่เปราะบาง

 

 

 

โอกาสเข้าถึงการเรียนรู้ ทั้งที่บ้านและสถานพัฒนาเด็ก

โอกาสที่เด็กจะได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สิ่งของ หรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว เพราะปฏิสัมพันธ์ใด ๆ ทั้งทางบวกและทางลบ ส่งผลต่อการพัฒนาของสมองของเด็ก โดยเป็นรากฐานสำหรับการเรียนรู้ในขั้นถัดไป

  • มีกิจกรรมที่ให้เด็กได้เคลื่อนไหว และได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้ยินและได้ใช้ภาษา และได้สำรวจสิ่งรอบตัว

  • เด็กและผู้ดูแลได้เล่น พูดคุย ยิ้มให้ ทำท่าทางต่าง ๆ เล่นเกมง่าย ๆ และทำกิจวัตรประจำวัน

  • อ่านนิทาน ดูภาพในหนังสือ

  • เล่นกับสิ่งของในบ้านที่เหมาะสมกับวัย

  • สถานพัฒนาเด็ก/สถานเลี้ยงดูเด็ก มีมาตรฐาน

 

 

 

 

การดูแลตอบสนองอย่างใส่ใจ ต่อความต้องการและความรู้สึกของเด็ก

การเลี้ยงดู “การดูแลแบบตอบสนอง” หรือ Responsive caregiving สำคัญที่สุดในช่วง 0-2 ขวบ ความสามารถของพ่อแม่หรือผู้ดูแลเด็กในการสังเกต เข้าใจ และตอบสนองต่อสัญญาณต่างๆ ของเด็กที่ส่งมาให้ได้อย่างทันท่วงทีและเหมาะสม เป็นพื้นฐานที่จะช่วยส่งเสริมอีก 4 ด้าน ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

  • ส่งเสริมให้ผู้ดูแลมีวิธีการเลี้ยงดูที่ตอบสนองต่อเด็กอย่างใส่ใจ ไม่ละเลยการตอบสนองในสิ่งที่เด็กส่งมา เช่น สบตา ยิ้ม กอด ชม หรือเมื่อเด็กชี้ และถามจากความสงสัย ควรจะให้ข้อมูลที่เหมาะสมเพื่อเกิดการเรียนรู้ จดจำที่ดี

  • ช่วยให้ผู้ดูแลสังเกตสัญญาณต่างๆ และตอบสนองอย่างเหมาะสม เช่น สํญญาณของความหิว ความเจ็บป่วย ความรู้สึกกลัว ความชอบ ความสนใจที่จะเล่น

  • สนับสนุนผู้ดูแลให้สื่อสารกับเด็ก และมีปฏิสัมพันธ์ในทางบวก ในช่วงเวลาที่ใช้ร่วมกัน เช่น การเล่นด้วยกันกับเด็กแทนการปล่อยให้เด็กเล่นคนเดียวตลอด คุณอาจจะไม่จำเป็นจะต้องมีเวลาและเล่นกับเขาทุกครั้ง เพียงแต่ทุกครั้งที่มีเวลากับเขาให้ใช้เวลานั้นอย่างใส่ใจและคุ้มค่ามากที่สุด

 

footer

 

รู้มั้ยว่าช่วงอายุ 0-6 ปี เป็นนาทีทองของการเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองของเด็ก

เป็นช่วงที่สมองของเด็กจะมีพัฒนาการได้เร็วที่สุด 

พ่อแม่ผู้ปกครองจึงไม่ควรจะพลาดช่วงเวลาสำคัญในการกระตุ้นพัฒนาการทางสมองนี้ไป

และหันมาเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดในทุก ๆ ด้าน

 

photo1 

กรอบการดูแลอย่างเอาใจใส่ หรือ Nurturing Care คืออะไร

องค์การอนามัยโลก องค์การยูนิเซฟ ธนาคารโลก (World Bank) ร่วมกับภาคีอื่น ๆ จัดทำกรอบการดูแลเด็กปฐมวัย หรือ Nurturing Care Framework (NCF) เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้เข้าใจหลักการ 5 ข้อในการดูแลเด็กให้เติบโตขึ้นมาอย่างมีศักยภาพ

 

มีสุขภาพดี

สุขภาพที่ดีเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การเรียนรู้เต็มศักยภาพ ทั้งเด็กและผู้ดูแล ควรมีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี เพราะสุขภาพของผู้ดูแลย่อมส่งผลถึงความสามารถในการดูแลเด็กอย่างเต็มที่ด้วย

  • มีการส่งเสริมสุขภาพ ทั้งกายและใจกัน

  • การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยการได้รับวัคซีน อย่างครบถ้วน

  • การติดตามการเจริญเติบโต

  • การเข้าถึงบริการสาธารณสุขเพื่อป้องกันโรคและดูแลรักษา

  • ดูแลความสะอาดและป้องกันโรคต่าง ๆ

  • การดูแลเด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการหรือมีความพิการ

 

มีโภชนาการที่เพียงพอ

โภชนาการของแม่ตั้งแต่ตั้งครรภ์และเด็ก เพราะภาวะโภชนาการของแม่ตั้งแต่ตั้งครรภ์นั้นส่งผลต่อสุขภาพและการพัฒนาของเด็กได้

  • การดูแลโภชนาการของแม่ตั้งครรภ์

  • การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

  • อาหารตามวัยที่มีคุณภาพ

  • การเสริมสารอาหารสำหรับแม่และเด็ก (ตามความจำเป็น)

  • การออกกำลังกายและนอนหลับอย่างเพียงพอ

  • การดูแลรักษาภาวะทุพโภชนาการ

  • การป้องกันโรคอ้วนและน้ำหนักเกิน

 

 

การปกป้องคุ้มครองและความปลอดภัย

สิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับเด็กและครอบครัว ปราศจากอันตรายต่อร่างกาย ความเครียด ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม

  • การจดทะเบียนเกิด

  • การเข้าถึงอาหารและน้ำสะอาด

  • อากาศที่สะอาด

  • สุขอนามัยและสภาพแวดล้อมที่ดี

  • ปกป้องเด็กจากความรุนแรง การล่วงละเมิด การถูกทอดทิ้ง

  • พื้นที่ปลอดภัยสำหรับเล่น

  • ความช่วยเหลือทางสังคมสำหรับครอบครัวที่เปราะบาง

 

 

โอกาสเข้าถึงการเรียนรู้ ทั้งที่บ้านและสถานพัฒนาเด็ก

โอกาสที่เด็กจะได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สิ่งของ หรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว เพราะปฏิสัมพันธ์ใด ๆ ทั้งทางบวกและทางลบ ส่งผลต่อการพัฒนาของสมองของเด็ก โดยเป็นรากฐานสำหรับการเรียนรู้ในขั้นถัดไป

  • มีกิจกรรมที่ให้เด็กได้เคลื่อนไหว และได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้ยินและได้ใช้ภาษา และได้สำรวจสิ่งรอบตัว

  • เด็กและผู้ดูแลได้เล่น พูดคุย ยิ้มให้ ทำท่าทางต่าง ๆ เล่นเกมง่าย ๆ และทำกิจวัตรประจำวัน

  • อ่านนิทาน ดูภาพในหนังสือ

  • เล่นกับสิ่งของในบ้านที่เหมาะสมกับวัย

  • สถานพัฒนาเด็ก/สถานเลี้ยงดูเด็ก มีมาตรฐาน

 

การดูแลตอบสนองอย่างใส่ใจ ต่อความต้องการและความรู้สึกของเด็ก

การเลี้ยงดู “การดูแลแบบตอบสนอง” หรือ Responsive caregiving สำคัญที่สุดในช่วง 0-2 ขวบ ความสามารถของพ่อแม่หรือผู้ดูแลเด็กในการสังเกต เข้าใจ และตอบสนองต่อสัญญาณต่างๆ ของเด็กที่ส่งมาให้ได้อย่างทันท่วงทีและเหมาะสม เป็นพื้นฐานที่จะช่วยส่งเสริมอีก 4 ด้าน ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

  • ส่งเสริมให้ผู้ดูแลมีวิธีการเลี้ยงดูที่ตอบสนองต่อเด็กอย่างใส่ใจ ไม่ละเลยการตอบสนองในสิ่งที่เด็กส่งมา เช่น สบตา ยิ้ม กอด ชม หรือเมื่อเด็กชี้ และถามจากความสงสัย ควรจะให้ข้อมูลที่เหมาะสมเพื่อเกิดการเรียนรู้ จดจำที่ดี

  • ช่วยให้ผู้ดูแลสังเกตสัญญาณต่างๆ และตอบสนองอย่างเหมาะสม เช่น สํญญาณของความหิว ความเจ็บป่วย ความรู้สึกกลัว ความชอบ ความสนใจที่จะเล่น

  • สนับสนุนผู้ดูแลให้สื่อสารกับเด็ก และมีปฏิสัมพันธ์ในทางบวก ในช่วงเวลาที่ใช้ร่วมกัน เช่น การเล่นด้วยกันกับเด็กแทนการปล่อยให้เด็กเล่นคนเดียวตลอด คุณอาจจะไม่จำเป็นจะต้องมีเวลาและเล่นกับเขาทุกครั้ง เพียงแต่ทุกครั้งที่มีเวลากับเขาให้ใช้เวลานั้นอย่างใส่ใจและคุ้มค่ามากที่สุด

 

 

footer