เลือกภาษา
close
เมื่อเด็กไม่รู้จักรอ พ่อแม่ต้องทำยังไง

เมื่อเด็กไม่รู้จักรอ พ่อแม่ต้องทำยังไง

การรอคอยเป็นเรื่องยากสำหรับเด็ก แต่เราสามารถทำให้เป็นเรื่องง่ายได้หากเราสอนเขาได้ถูกเวลา และสอนได้
ถูกวิธี

สำหรับช่วงวัย 1.5-3 ขวบนั้น เริ่มพูดได้เป็นคำ ๆ รู้คำศัพท์ได้ประมาณ 200-300 คำ และสามารถใช้ประโยคที่ยาว 2-3 คำได้ พูดซ้ำตามผู้ใหญ่ได้ มีสมาธินานพอที่จะฟังนิทานสั้น ๆ จนจบได้ แต่อาจจะยังมีสมาธิสั้น และมีปัญหาในการรอคอย ต้องการอะไรต้องได้เดี๋ยวนี้ แต่ใช่ว่าเราจะไม่สามารถฝึกให้ลูกรอคอยได้เลย

เราฝึกเขาให้รู้จักรอคอยดีกว่าการตามใจ เด็กอยากไปเล่นเดี๋ยวนี้! อยากกินขนมเดี๋ยวนี้! บอกให้รอก็ไม่ฟัง ในที่สุดผู้ปกครองก็ตามใจเพราะไม่อยากได้ซีนร้องไห้งอแงหรืออาละวาด แต่รู้ไหมการทำแบบนี้จะทำให้เด็กมีความอดทนต่ำ ไม่รู้จักการรอคอย เอาแต่ใจ ใจร้อน ผู้ปกครองจึงต้องฝึกให้เด็กรู้จักอดทนรอคอยให้เป็น และรู้จักกฎกติกา ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญมากๆ ในการอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคม เรามีเคล็ดลับดี ๆ มาแนะนำคุณพ่อคุณแม่

  • ถ้าเด็กอยากให้พ่อแม่มาช่วยทำอะไรให้ ให้เด็กได้ใช้ความพยายามด้วยตัวเองก่อน หากสังเกตว่าเด็กทำไม่ได้ค่อยให้การช่วยเหลือ

  • มีกติกาที่ชัดเจนว่า จะได้รางวัลหรือได้ทำสิ่งที่เขาชอบเมื่อไหร่ เช่น ถ้าอยากดูทีวี ก็ต้องทำการบ้านให้เสร็จก่อน ​

  • ค่อยๆ สอนว่าเราจะไม่ได้ทุกอย่างที่อยากได้เสมอไป เช่น เวลาไปซื้อของ จะไม่ได้ซื้อของเล่นทุกครั้ง แต่ลูกควรรอจนสะสมดาวให้ได้ก่อน​

  • เปลี่ยนจากการเล่นเกมหรือดูคลิปในจอ มาเป็นกิจกรรมที่ช่วยฝึกสมาธิและความอดทน เช่น เล่นบอร์ดเกมที่ต้องผลัดกันเล่นคนละตา ต่อจิ๊กซอว์ ต่อบล็อกไม้ ​

  • เด็กเล็กอาจจะยังไม่เข้าใจคอนเซปท์ของเวลา ทำให้เขารู้สึกว่าการรอคอยเป็นเรื่องยาก เราสามารถใช้อุปกรณ์ที่ช่วยทำให้ “เห็นภาพ” เวลาที่ชัดเจนขึ้น เช่น นาฬิกาทราย หรือนาฬิกาหมุนจับเวลา พออายุ 5-6 ขวบ สามารถเริ่มสอนให้ดูเข็มสั้น-เข็มยาว ของนาฬิกาได้ เพราะช่วงวัยนี้จะเริ่มรู้จักวางแผนว่าจะทำอะไร และคาดคะเนถึงผลที่จะเกิดขึ้น​ จากการกระทำของตนเองได้คร่าวๆ พ่อแม่สามารถอธิบายผลที่จะเกิดขึ้นจากการรอและไม่รอให้ลูกตัดสินใจเองได้ว่าเลือกที่จะรอหรือไม่

อย่าลืมว่า ถึงแม้ว่าลูกอาจจะไม่พอใจเมื่อต้องรอคอย หรือเมื่อไม่ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการในทันที แต่มันจะช่วยให้เด็กมีความอดทนและมีวินัยในระยะยาว อย่ากลัว

เลี้ยงลูกให้ถูก ให้ลูกดีไปด้วยกัน แค่นี้ก็แฮปปี้ทั้งผู้ปกครองและเด็ก