
ค่ารักษาโรคหัวใจ ต้องเตรียมเท่าไร ถึงจะเพียงพอ
ในปัจจุบันโรคหัวใจเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยมากขึ้น ซึ่งนอกจากการดูแลร่างกาย เพื่อลดความเสี่ยงของโรคแล้ว การเตรียมความพร้อมด้านค่ารักษาโรคหัวใจก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าถ้าหากต้องเผชิญกับโรคหัวใจขึ้นมาจริง ๆ ทั้งตนเองหรือและคนในครอบครัว จะได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที
โรคหัวใจที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง ?
โรคหัวใจมีหลายประเภท แต่ละประเภทก็มีความรุนแรงและวิธีการรักษาที่แตกต่างกันไป โดยที่พบได้เป็นส่วนใหญ่ มีดังนี้
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน
สาเหตุ
เกิดจากไขมันสะสมในบริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ ทำให้หลอดเลือดแคบตีบลง ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยลง โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่ การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง การสูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน
อาการ
-
เจ็บแน่นหน้าอก โดยเฉพาะเวลาออกแรงหรือเครียด
-
หายใจไม่อิ่ม
-
เหนื่อยง่ายผิดปกติ
-
หากหลอดเลือดตีบลงจนอุดตัน เสี่ยงเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย เนื่องจากไม่มีเลือดไปหล่อเลี้ยงผนังหัวใจ ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในหัวใจ อาจเป็นผลมาจากพันธุกรรม การขาดเลือดที่หัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือการเสียสมดุลของสารแร่ธาตุในร่างกาย
อาการ
-
หัวใจเต้นช้าผิดปกติ คือน้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที
-
หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ คือเร็วกว่า 100 ครั้งต่อนาที
-
หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะสม่ำเสมอ เช่น เต้น ๆ หยุด ๆ หรือเต้นเร็วสลับเต้นช้า
-
อาการแสดงร่วม เช่น หน้ามืด วิงเวียน เป็นลมง่าย และในบางกรณีอาจมีอาการหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน
โรคลิ้นหัวใจตีบและรั่ว
สาเหตุ
ความพิการของลิ้นหัวใจตั้งแต่กำเนิด รวมถึงเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus จากโรคไข้รูมาติกในวัยเด็ก หรือหินปูนเกาะที่ลิ้นหัวใจ จนทำให้เกิดภาวะลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว
อาการ
-
เวียนศีรษะหรือหน้ามืด
-
เหนื่อยง่ายและอ่อนเพลีย
-
เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก
-
หายใจลำบาก
-
ขาบวมและท้องบวม
-
หัวใจเต้นผิดจังหวะ
โรคลิ้นหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อโรคที่เข้าสู่กระแสเลือด เช่น เชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราที่ติดเชื้อในบริเวณลิ้นหัวใจ โดยเฉพาะในผู้ที่มีลิ้นหัวใจเทียม หรือผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
อาการ
-
มีไข้ต่ำเรื้อรัง
-
หัวใจเต้นผิดปกติหรือเสียงหัวใจเปลี่ยนไป
-
อาการอ่อนเพลียหรือเหนื่อยล้า
-
อาจมีจุดแดงหรือจุดเลือดออกที่ฝ่ามือหรือฝ่าเท้า
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติในการพัฒนาของหัวใจและหลอดเลือดในช่วงที่ทารกยังอยู่ในครรภ์ ปัจจัยเสี่ยงมาจากพันธุกรรม รวมถึงโรคติดเชื้อของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ เช่น หัดเยอรมัน หรือการขาดสารอาหารที่จำเป็น
อาการ
-
ทารกมีอาการหายใจลำบากหรือหอบเหนื่อย
-
ตัวเขียว โดยเฉพาะบริเวณริมฝีปากและปลายนิ้ว เนื่องจากเลือดมีออกซิเจนน้อย
-
น้ำหนักตัวเพิ่มน้อย เจริญเติบโตช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน
-
อาจพบอาการบวมน้ำบริเวณขาหรือเท้า
โรคหัวใจมีค่าใช้จ่ายที่ควรรู้อะไรบ้าง ?
การรักษาโรคหัวใจมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่แตกต่างกันไป ดังนี้
ค่าทำบอลลูนหัวใจ
การทำบอลลูนหัวใจเป็นหัตถการที่ช่วยขยายหลอดเลือดหัวใจที่ตีบหรือตัน เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ป้องกันการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ซึ่งค่ารักษาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 185,000 บาท
ค่าผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
การผ่าตัดนี้จำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่ลิ้นหัวใจเสื่อมหรือมีปัญหา เช่น ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว ค่าใช้จ่ายประมาณ 800,000 บาท
ค่าใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ
เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ใช้สำหรับผู้ที่มีปัญหาหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยเครื่องจะช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจให้ปกติ ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นจะอยู่ที่ 792,000 บาท
ค่าผ่าตัดบายพาสหัวใจ
การผ่าตัดบายพาสหัวใจเป็นวิธีการสร้างทางเชื่อมหลอดเลือดใหม่ เพื่อทดแทนหลอดเลือดหัวใจเส้นที่ตีบหรือตัน โดยการผ่าตัดบายพาสหัวใจ มีราคาค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่ 650,000 บาท
ค่าผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจเอออร์ตาโป่งพอง
การผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเส้นเลือดแดงเอออร์ตาโตเร็วผิดปกติ หรือพองโตจนมีความเสี่ยงต่อการปริแตก ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่ 768,000 บาท
ค่าจี้ไฟฟ้าหัวใจ
การจี้ไฟฟ้าหัวใจเป็นหัตถการที่ใช้กระแสไฟฟ้าความถี่สูงเพื่อรักษาผู้ที่มีหัวใจเต้นผิดจังหวะ ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่ 100,000 บาท
** ค่ารักษาพยาบาลโดยประมาณ เป็นข้อมูลในปี 2566-2567 จึงมีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต ควรอัปเดตค่ารักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลที่ต้องการเข้ารับการรักษา
ที่มา : โรงพยาบาลเปาโล, โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ
เคล็ดลับการวางแผนทางการเงินเพื่อค่ารักษาโรคหัวใจ
เมื่อรู้กันไปแล้วว่าค่าทำบอลลูนหัวใจ รวมถึงค่ารักษาโรคหัวใจโตมีราคาอยู่ที่ระดับใดบ้าง การวางแผนทางการเงินล่วงหน้าจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยมีวิธีการดังนี้
ออมเงินสำรอง
การเก็บเงินสำรองสำหรับค่ารักษาพยาบาลช่วยสร้างความมั่นใจว่าจะมีเงินพร้อมใช้ในยามจำเป็น โดยแนะนำให้กันเงินสำรองอย่างน้อย 6-12 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน เพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น
ลงทุนให้เงินออมงอกเงย
การลงทุนเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยเพิ่มมูลค่าเงินออมในระยะยาว โดยสามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น กองทุนรวม พันธบัตรรัฐบาล เพื่อให้ผลตอบแทนจากการลงทุน กลายมาเป็นเงินสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายในอนาคต
เตรียมความพร้อมด้านค่ารักษาพยาบาล
เพราะโรคหัวใจสามารถเกิดขึ้นได้แบบไม่มีสัญญาณล่วงหน้า การเตรียมความพร้อมด้านค่ารักษาพยาบาลในยามเจ็บป่วยจึงเป็นเรื่องไม่ควรมองข้าม โดยสามารถเริ่มต้นได้ด้วยการทำประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์ ซึ่งการวางแผนล่วงหน้านี้ไม่เพียงช่วยลดความกังวลในยามฉุกเฉิน แต่ยังเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงทีด้วย
มาสร้างหลักประกันสุขภาพให้แก่ตนเองและคนในครอบครัว ด้วยการเลือกซื้อประกันสุขภาพ กับพรูเด็นเชียล ประกันชีวิต เพื่อรับความคุ้มครองด้านค่ารักษาพยาบาลหากเกิดโรคที่ไม่คาดคิดได้อย่างอุ่นใจ หรือเตรียมไว้อุ่นใจ กับ ประกัน PRUCritical Care คลิกเลย! https://link.prudential.co.th/p8x24
ข้อมูลอ้างอิง