พรูเด็นเชียล ประเทศไทย จับมือ MyDoc เปิดตัวบริการ Telemedicine รวมถึงการให้คำปรึกษาทางออนไลน์ในไทย ผ่านแอป Pulse by Prudential
กรุงเทพฯ, ประเทศไทย (27 เมษายน 2564) – บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (“พรูเด็นเชียล ประเทศไทย”) ขยายการดูแลสุขภาพให้เข้าถึงคนไทยมากขึ้น ด้วยการเปิดตัวบริการ “โทรเวชกรรม (Telemedicine)” และการให้คำปรึกษาทางออนไลน์ (Online Consultation) ครั้งแรกในประเทศไทย บนแอปพลิเคชัน Pulse by Prudential (Pulse) สุดยอดแอปพลิชันด้านการดูแลสุขภาพแบบครบวงจร ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างพรูเด็นเชียล และ MyDoc ผู้ให้บริการดูแลสุขภาพแบบดิจิทัลระดับแนวหน้าของเอเชีย ที่ช่วยให้แอป Pulse สามารถนัดหมายเพื่อรับการปรึกษาผ่านทางวิดีโอกับแพทย์ที่ได้รับใบอนุญาต รวมถึงขอรับใบสั่งยาและใบรับรองแพทย์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนบริการจัดส่งยาตามใบสั่งแพทย์ที่จุดใกล้บ้านได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
โดยบริการใหม่บนแอป Pulse เกิดขึ้นในห้วงเวลาสำคัญ ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมถึงความเสียงตอบรับของผู้คนต่อโซลูชันด้านสาธารณสุขของประเทศในรูปแบบดิจิทัลที่พุ่งสูงขึ้นในปัจจุบัน
บริการให้คำปรึกษาทางการแพทย์ออนไลน์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ พร้อมบริการจัดส่งยา
คณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก MyDoc และทีมเภสัชกรจากร้านขายยาพันธมิตรได้รับการคัดเลือกตามมาตรฐานอย่างเคร่งครัด โดยทีมแพทย์ทั้งหมดล้วนมีประสบการณ์การรักษาจากโรงพยาบาลชั้นนำ รวมถึงผ่านการฝึกอบรมและการรับรองสำหรับการให้คำปรึกษาทางการแพทย์แบบออนไลน์ จนพร้อมให้บริการตั้งแต่การให้คำปรึกษาโรคทั่วไป อาทิ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ไซนัสอักเสบ หรือการติดเชื้อทางเดินหายใจ ซึ่งตามข้อมูลในปัจจุบัน พบว่าโรคทั่วไปเหล่านี้สามารถรักษาได้ผ่านทางบริการโทรเวชกรรม (Telemedicine) นอกจากนี้ ทีมแพทย์ยังได้รับการฝึกอบรมเพื่อประเมินอาการที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ผ่านการนัดหมายเสมือนจริง
นอกจากการให้คำปรึกษาเสมือนจริงแล้ว ผู้ป่วยยังสามารถรับยาตามใบสั่งยาที่วินิจฉัยโดยแพทย์ ในพื้นที่ตามความสะดวก ผ่านบริการจัดส่งยาของแกร็บ (Grab) ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธมิตรของ MyDoc รวมถึงยังเพิ่มความมั่นใจในความปลอดภัยและประสิทธิผลของยา ด้วยการเป็นพันธมิตรกับร้านบู๊ทส์ (Boots Retail Thailand) ซึ่งทำหน้าที่จัดหายาให้กับทาง MyDoc อีกด้วย
คุณซูซาน แฟนนิ่ง ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจสุขภาพ พรูเด็นเชียล ประเทศไทย กล่าวว่า “บริการโทรเวชกรรม (Telemedicine) และการให้คำปรึกษาทางออนไลน์ (Teleconsultation) ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับภาคเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ และถือเป็นโอกาสที่ดีในการดูแลสุขภาพในรูปแบบเสมือนจริง โดย
พรูเด็นเชียล ประเทศไทย ในฐานะบริษัทประกันชีวิตชั้นนำ มีความมุ่งมั่นในการสนับสนุนให้ผู้คนมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีในทุกช่วงวัยของชีวิต ผ่านการมอบบริการแบบครบวงจร ซึ่งการได้ร่วมมือกับ MyDoc เพื่อพัฒนาและเปิดตัวบริการโทรเวชกรรม (Telemedicine) บนแอปพลิเคชัน Pulse by Prudential ในครั้งนี้ ถือเป็นการตอกย้ำเจตนารมย์ของบริษัทฯ ในการช่วยให้ผู้คนไปถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตได้เป็นอย่างดี”
พรูเด็นเชียล ประเทศไทย ได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ในการร่วมมือกันยกระดับเทคโนโลยีดิจิทัลด้านสุขภาพอย่างเต็มความสามารถ พร้อมส่งมอบข้อมูลและคำแนะนำด้านสุขภาพผ่านแอป Pulse ตลอดจนบริการที่ทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ เพื่อสร้างสรรค์สังคมแห่งการดูแลสุขภาพแบบดิจิทัลให้เกิดขึ้นจริง
“พรูเด็นเชียล ประเทศไทย ในฐานะบริษัทที่สนับสนุนการดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี เรามุ่งมั่นช่วยให้ผู้คนมีชีวิตที่สมบูรณ์และสุขภาพดีมากยิ่งขึ้น แม้ในขณะที่พวกเขาต้องอยู่ที่บ้าน ในช่วงเวลาที่ท้าทายจากสถานการณ์โรคระบาดเช่นนี้ บริการโทรเวชกรรม (Telemedicine) และบริการให้คำปรึกษาทางออนไลน์ (Teleconsultation) ไม่เพียงแต่ทำให้ผู้ใช้แอป Pulse สามารถเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพเท่านั้น แต่ยังส่งมอบบริการต่าง ๆ แบบครบวงจร ทั้งการออกใบรับรองแพทย์ ใบสั่งยา และบริการจัดส่งยาถึงหน้าบ้านของคนไข้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นข้อพิสูจน์ถึงภารกิจของบริษัทฯ ในการทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ในราคาที่เป็นธรรม” คุณซูซาน กล่าวเพิ่มเติม
ดร. ซีฮาว พาเทล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง MyDoc กล่าวว่า “เชื้อไวรัส COVID-19
ได้เปลี่ยนวิธีการทำงาน การใช้ชีวิต และการเข้าถึงบริการต่าง ๆ รวมถึงความต้องการทรัพยากรในการดูแลสุขภาพที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ที่เพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย ในช่วงเวลาเช่นนี้ จึงเป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญมากกว่าที่เคยที่บริษัทฯ จะต้องทำในสิ่งที่สามารถทำได้ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อไวรัส โดยเฉพาะในขณะที่ประเทศกำลังเผชิญกับคลื่นลูกใหม่ของการระบาด”
“ในฐานะผู้ให้บริการดูแลสุขภาพทางไกล (Telehealth) เรามุ่งมั่นที่จะมอบการเข้าถึงการดูแลสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และสามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างทันท่วงทีสำหรับทุกคน จากผลการศึกษาของ Bain เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้พบว่าอัตราการใช้งานแอปพลิเคชัน MyDoc ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพิ่มขึ้นถึง 272% เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2562 ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่ไวรัสโควิด-19 จะเกิดการระบาด โดยการทำงานร่วมกับพรูเด็นเชียล ทำให้เราสามารถเข้าถึงผู้คนในวงกว้างมากยิ่งขึ้น ซึ่งเรามั่นใจว่าพวกเขาจะได้รับการรักษาทางการแพทย์ที่ถูกต้อง ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ที่ใดก็ตาม เพราะการดูแลสุขภาพที่ดีเป็นสิ่งที่ทุกคนควรได้รับและเข้าถึงได้ทุกเมื่อที่ต้องการ ซึ่งเราพร้อมดำเนินการเพื่อช่วยเหลือผู้คนในระยะยาว” ดร. ซีฮาว กล่าวเพิ่มเติม
สำหรับ บริการโทรเวชกรรม (Telemedicine) บนแอป Pulse by Prudential นี้ เป็นความร่วมมือในระดับภูมิภาคระหว่าง พรูเด็นเชียล และ MyDoc ที่ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งช่วยให้บริษัทฯ เพิ่มมูลค่าให้กับบริการด้านการดูแลสุขภาพ และสามารถมอบบริการต่าง ๆ ให้ผู้คนเข้าถึงได้ง่ายผ่านแอป Pulse by Prudential บนโทรศัพท์มือถือ โดยเปิดให้ใช้บริการแล้วในประเทศสิงคโปร์ เวียดนาม ฮ่องกง และล่าสุด ในประเทศไทย
ในส่วนของแอปพลิเคชัน Pulse by Prudential ได้เปิดตัวครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2563 โดยตั้งเป้าหมายในการเป็นตัวช่วยดูแลสุขภาพของคนไทยตลอด 24 ชั่วโมง ที่พร้อมช่วยป้องกันและชะลอการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีอย่างล้มหลาม ดังจะเห็นได้จากยอดดาวน์โหลดในปัจจุบันที่มีมากกว่าสองล้านดาวน์โหลด และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ดาวน์โหลด Pulse เพื่อใช้บริการ Telemedicine และการให้คำปรึกษาทางออนไลน์
คำสงวนสิทธิ์
บริการโทรเวชกรรมข้างต้นให้บริการโดยบุคคลที่สาม (ผู้ให้บริการ) ผ่านแอปพลิเคชัน Pulse พรูเด็นเชียล ประเทศไทย มิได้เป็นผู้ให้บริการหรือเป็นตัวแทนของผู้ให้บริการดังกล่าว ผู้ใช้บริการอาจทำการนัดหมายการให้คำปรึกษาด้วยตัวเองผ่านแอปพลิเคชันของผู้ให้บริการ โดยผู้ใช้บริการมีสิทธิ์ที่จะเลือกใช้บริการบนพื้นฐานของความเสี่ยงส่วนบุคคล โดยพรูเด็นเชียล ประเทศไทย มิได้เป็นผู้รับรองหรืออนุมัติบริการโทรเวชกรรม แพทย์ผู้ปฏิบัติงาน การให้คำปรึกษาทางการแพทย์ การวินิจฉัยหรือรักษาโรค การออกใบรับรองแพทย์ และ/หรือ การสั่งจ่ายยาโดยแพทย์ผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งถูกคัดเลือกโดยผู้ให้บริการ รวมทั้งมิได้เป็นผู้ที่กำหนดคุณภาพหรือความถูกต้องของบริการ ทั้งนี้ พรูเด็นเชียล ประเทศไทย มิได้เป็นตัวแทน รับรอง หรือ รับปรกันคุณภาพและความพร้อมในการให้บริการ และมิใช่ผู้รับผิดชอบต่อการกระทำหรือสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการบริการของผู้ให้บริการ รวมถึงมิใช่ผู้รับผิดชอบต่อการกระทำหรือการยกเว้นของผู้ให้บริการ
เกี่ยวกับ Pulse by Prudential
Pulse by Prudential เป็นแอปพลิเคชันด้านสุขภาพรูปแบบดิจิทัลและเป็นบริการแรกในภูมิภาคที่ให้การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมแก่ผู้บริโภค ด้วยเครื่องมือประเมินผลในตัวผ่านระบบปฏิบัติการอัจฉริยะ AI และนำเสนอข้อมูลแบบเรียลไทม์ แอปฯ จึงทำหน้าที่เสมือนเพื่อนคู่ใจในด้านการดูแลสุขภาพให้แก่ผู้ใช้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถปกป้อง ชะลอ และป้องกันตัวเองจากการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ Pulse เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทั่วทั้งภูมิภาคของพรูเด็นเชียล เพื่อให้บริการด้านการดูแลสุขภาพที่ทุกคนทั่วเอเชียสามารถเข้าถึงได้ ผ่านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลชั้นแนวหน้า และการร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำต่าง ๆ
Pulse by Prudential เปิดตัวครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซียในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 และเปิดตัวอีก 11 ประเทศในภูมิภาคเอเชียโดยได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรต่าง ๆ รวมถึงชุดบริการเสริมที่เพิ่มมากขึ้น เช่น เครื่องตรวจอาการและการประเมินสุขภาพบริการสุขภาพส่วนบุคคลและการให้คำปรึกษาผ่านทางวิดีโอกับ แพทย์และผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการรับรอง
นับตั้งแต่เปิดตัว Pulse ได้รับการดาวน์โหลดมากกว่า 9 ล้านครั้ง ในเอเชียจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบัน Pulse มีให้บริการบนร้านค้าได้ฟรีจาก Apple และ Google Play Store ในกัมพูชา ฮ่องกง อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม
สำหรับแอปพลิเคชัน Pulse ที่ให้บริการในประเทศไทยนั้นผู้ใช้สามารถใช้งานได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือดาวน์โหลดได้ฟรีที่เว็บไซต์ http://www.wedopulse.com/th/
เกี่ยวกับ บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
พรูเด็นเชียลได้ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยเป็นระยะเวลากว่า 25 ปี ภายใต้ชื่อ บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ให้บริการแก่ลูกค้ามากกว่า 1.6 ล้านราย ในประเทศไทย และบริหารสินทรัพย์ให้แก่ลูกค้ามูลค่ากว่า 112 พันล้านบาท ในปีพ.ศ. 2563 พรูเด็นเชียล ประเทศไทย มีผลกำไรจากการดำเนินงานตามมาตรฐานบัญชี IFRS เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 สู่ระดับ 203 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีเบี้ยประกันภัยรับแบบถ่วงน้ำหนัก เพิ่มขึ้นร้อยละแปด สู่ระดับ 667 ล้านเหรียญสหรัฐ (ข้อมูลเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563)