บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญในการปฎิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และเชื่อมั่นว่าเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจ
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญในการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และเชื่อมั่นว่ากระบวนการกำกับดูแลกิจการที่ดี ถือเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ผนวกกับปรัชญาของกลุ่มบริษัทพรูเด็นเชียลที่ว่า "รับฟังและเข้าใจคุณเสมอ" กลุ่มบริษัทพรูเด็นเชียลจึงได้มีการกำหนดระเบียบข้อบังคับในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทพรูเด็นเชียลขึ้น ที่กำหนดคุณค่าและมาตรฐานในการดำเนินการกำกับดูแลการดำเนินงาน ระบุไว้ใน “คู่มือหลักการบรรษัทภิบาลของกลุ่มบริษัทพรูเด็นเชียล” (Group Governance Manual) ระเบียบข้อบังคับในการดำเนินธุรกิจนี้ เพื่อเป็นรากฐานความมั่นคงของบริษัทฯ ในการที่จะดูแลรักษาผลประโยชน์ต่อลูกค้า ผู้ถือหุ้น พันธมิตรทางธุรกิจ คู่แข่งทางธุรกิจ หน่วยงานกำกับดูแล ตลอดจนพนักงานของพรูเด็นเชียลทุกคน ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯ ถือปฏิบัติตามหลักการที่ระบุไว้ในระเบียบข้อบังคับในการดำเนินธุรกิจดังกล่าว
มาตรฐานต่อไปนี้นำเสนอภาพรวมหลักตามข้อกำหนดในคู่มือหลักการบรรษัทภิบาลของกลุ่มบริษัทพรูเด็นเชียลที่เกี่ยวข้องกับระเบียบข้อบังคับในการดำเนินธุรกิจ ถือเป็นหลักปฏิบัติสำหรับพนักงานทุกคน ซึ่งพนักงานทุกคนจะต้องให้การรับรองเป็นรายบุคคลในแต่ละปี
มาตรฐาน 1 - อาชญากรรมทางการเงิน
มาตรฐาน 2 - ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
มาตรฐาน 3 - ข้อมูลและการซื้อขาย
มาตรฐาน 4 - การสื่อสาร
มาตรฐาน 5 - บุคลากร
การแจ้งเบาะแส (Speak Out)
พนักงานทุกคนมีความรับผิดชอบส่วนบุคคลในการส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมและค่านิยมขององค์กรในที่ทำงาน หากพนักงานเชื่อว่าเพื่อนร่วมงานไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่ระบุไว้ในหลักการดำเนินธุรกิจนี้ พนักงานไม่ควรลังเลที่จะใช้ช่องทางรายงานที่เป็นความลับ (Speak Out) การฝึกอบรมจึงเป็นสิ่งจำเป็น พนักงานสามารถรายงานข้อกังวลได้โดยตระหนักดีว่าเรื่องดังกล่าวจะเป็นความลับ กลุ่มพรูเด็นเชียลจะไม่มีการตอบโต้กับผู้แจ้งข้อกังวลใดๆ ผ่านช่องทาง Speak Out
การรายงานสามารถกระทำได้ในทางลับผ่านช่องทางเว็บไซต์ โทรศัพท์สายด่วนหรือส่งเป็นลายลักษณ์อักษรมาตามอีเมลดังรายละเอียดต่อไปนี้
เว็บไซต์: www.prudentialspeakout.ethicspoint.com
โทรฟรีระหว่างประเทศ: 1800-011-578
อีเมล: [email protected]
สรุปนโยบายการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันของกลุ่มพรูเด็นเชียลโดยสังเขปซึ่งครอบคลุมถึงการให้และการรับสินบน
บทนำ
ที่พรูเด็นเชียล เราให้ความสำคัญกับชื่อเสียงด้านพฤติกรรมที่มีจริยธรรมและความน่าเชื่อถือทางด้านการเงินและความไว้วางใจ เราตระหนักดีว่านอกเหนือจากการกระทำผิดทางอาญาใดๆ การมีส่วนร่วมในการติดสินบนนั้นจะกระทบกับภาพลักษณ์และชื่อเสียงของบริษัทฯ ด้วยเช่นกัน ดังนั้นเราจึงมีเจตนารมณ์ที่จะจำกัดความเกี่ยวข้องในการติดสินบนโดย
ที่พรูเด็นเชียลเราห้ามการคอร์รัปชันและการจ่ายหรือรับสินบนไม่ว่าวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตาม
นโยบาย
การติดสินบน หมายถึง การเสนอ การให้สัญญา การให้ การเชิญชวน หรือการรับ หรือข้อตกลงที่จะรับประโยชน์ที่เป็นตัวเงินหรือผลประโยชน์อื่นใด หรือการเชิญชวนจากบุคคลหรือบริษัทห้างร้านใดๆ (ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการ ข้าราชการ หรือเอกชนก็ตาม) โดยพนักงาน ตัวแทน หรือบุคคลใดๆ ที่กระทำการแทน
คอร์รัปชัน หมายถึง การใช้อำนาจในทางที่ผิด เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ส่วนตน
ข้อห้ามของกลุ่มพรูเด็นเชียล:
การติดสินบนของหรือโดยบุคคลหรือบริษัทไม่ว่าจะตั้งอยู่ที่ประเทศใด ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ บุคคล เอกชน บริษัทห้างร้านใดๆ พนักงาน ตัวแทน หรือผู้กระทำการแทนกลุ่มพรูเด็นเชียลกระทำการใดๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อ
ในขณะที่ปฏิบัติงานในนามกลุ่มพรูเด็นเชียล บริษัทฯ ไม่อนุญาตให้บริจาคเพื่อการเมือง และบริษัทฯ อนุญาตให้กระทำกิจกรรมเพื่อสังคมได้เฉพาะที่เป็นไปตามแนวทางที่บริษัทฯ กำหนดเท่านั้น
การจ่ายเงินเพื่อความสะดวก คือ การจ่ายเงินใดๆ (เว้นแต่ที่เป็นไปตามกฎหมายและประกาศอัตราไว้เป็นการทั่วไป) เพื่อให้มั่นใจว่าจะดำเนินการให้ หรือเร่งรัดให้ดำเนินการต่อการกระทำการใดๆ ที่ดำเนินไปเป็นกิจวัตร หรือการกระทำที่จำเป็นซึ่งผู้จ่ายเงินเพื่ออำนวยความสะดวกนั้นมีสิทธิที่จะได้รับตามกฎหมาย บริษัทฯ ไม่อนุญาตหรือยินยอมให้กระทำการในลักษณะนี้
คำอธิบายเพิ่มเติม
กลุ่มพรูเด็นเชียลตระหนักดีว่าแนวปฏิบัติทางการตลาดในการดำเนินธุรกิจนั้นมีความแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ และสิ่งที่ทำได้ในประเทศหนึ่งอาจไม่เป็นที่ยอมรับในอีกประเทศหนึ่งก็ได้
นโยบายฉบับนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะการห้ามมิให้ปฏิบัติกิจกรรมที่กระทำเป็นจารีตประเพณี หรือที่มีการปฏิบัติอันเหมาะสม หรือมีการบันทึกอย่างถูกต้อง ได้แก่
การป้องกัน การตรวจพบ และการรายงานการให้สินบน หรือคอร์รัปชัน เป็นความรับผิดชอบของทุกคนที่อยู่ภายในหรือเกี่ยวข้องกับกลุ่มพรูเด็นเชียล การรายงานสามารถกระทำได้ในทางลับผ่านช่องทางโทรศัพท์สายด่วนของกลุ่มพรูเด็นเชียล (+44 (0)20 7548 2999) หรือส่งเป็นลายลักษณ์อักษรมาตามที่อยู่ดังต่อไปนี้
Director of Group Resilience
Prudential plc
12 Arthur Street
London EC4R 9AQ
United Kingdom
สำหรับประเทศไทย
เว็บไซต์: www.prudentialspeakout.ethicspoint.com
โทรฟรีระหว่างประเทศ: 1800-011-578
อีเมล: [email protected]
บริษัทฯ ได้จัดให้มีคู่มือการปฏิบัติงานสำหรับกระบวนการทำงานต่างๆ พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติงาน และกำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบ และขอบเขตอำนาจตามความจำเป็น เพื่อให้มั่นใจในประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานต่างๆ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้จัดให้มีการสอบทาน ติดตาม และประเมินผลความเพียงพอของระบบควบคุมภายในอย่างสม่ำเสมอ และมีหน่วยงานตรวจสอบภายในของกลุ่มบริษัทฯ ที่เป็นอิสระ ประเมินความเพียงพอของการควบคุมภายในอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และรายงานผลต่อคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัทฯ
การบริหารความเสี่ยงขององค์กร (Enterprise Risk Management: ERM)
การบริหารความเสี่ยงนับเป็นกระบวนการบริหารที่สำคัญของบริษัทฯ ในการป้องกัน รักษา และสนับสนุนบริษัทฯ เพื่อสร้างผลตอบแทนอันตอบสนองต่อความเสี่ยงอย่างสูงสุด และทำให้อัตราผลตอบแทนที่ได้เปรียบนี้ มีส่วนช่วยสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจ ในขณะที่ยังคงรักษาความแข็งแกร่งทางการเงิน ทำให้ฝ่ายบริหารสามารถจัดการกับความไม่แน่นอนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งช่วยลดผลกระทบและความไม่แน่นอนต่อทิศทาง กลยุทธ์ กระบวนการตัดสินใจเชิงธุรกิจ และการดำเนินงานของบริษัทฯ
บริษัทฯ นำนโยบายความเสี่ยงมาใช้ เพื่อส่งเสริมให้บริษัทฯ มีการบริหารจัดการความเสี่ยงระดับองค์กรที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การจัดสรรทรัพยากรเพื่อใช้ในการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสมและสามารถรับผิดชอบต่อการชำระคืนแก่ผู้ถือกรมธรรม์ตามสัญญาได้อย่างสมบูรณ์ อีกทั้งเพื่อส่งเสริมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและเพื่อเสริมสร้างความน่าเชื่อถือของบริษัทฯ และอุตสาหกรรมโดยรวม
กระบวนการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ ประกอบไปด้วยกระบวนการระบุความเสี่ยง การวัดผลและการประเมินความเสี่ยง การบริหารและการควบคุมความเสี่ยง และการติดตามดูแลและการรายงานความเสี่ยง
การบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน (Asset Liability Management: ALM)
การบริหารสินทรัพย์และหนี้สินเป็นหน้าที่โดยตรงของคณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน ซึ่งมีหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบ และวิเคราะห์ถึงความเสี่ยงที่มีผลต่อความเพียงพอต่อเงินกองทุนของบริษัทฯ กับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ รวมถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์ที่ระบุในกรมธรรม์ ผลตอบแทนจากการลงทุนสอดคล้องกับความคาดหวังผู้ถือกรมธรรม์ และกำไรของบริษัทฯ
บริษัทฯ มีนโยบายกำหนดเป้าหมาย duration ของสินทรัพย์โดยประมาณให้สอดคล้องกับ duration ของหนี้สิน เพื่อลดความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และบริหารจัดการกระแสเงินสดของเงินลงทุน เพื่อให้เพียงพอต่อการชำระคืนแก่ผู้ถือกรมธรรม์ตามสัญญา
ความเสี่ยงจากการรับประกันภัย
บริษัทฯ คัดเลือกความเสี่ยงภัยโดยพิจารณาจากปัจจัยหลัก 2 ประการได้แก่ ปัจจัยด้านสุขภาพ และด้านการเงินของลูกค้า ทั้งนี้ อาจมีปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องพิจารณาในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพิจารณารับประกัน ได้แก่อาชีพและรูปแบบการใช้ชีวิตของความเสี่ยงที่กำลังพิจารณา นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังใช้หลักของการพิจารณาความเสี่ยงในองค์รวมในบางกรณีแล้วแต่ความเหมาะสม ทั้งนี้ กระบวนการในการพิจารณารับประกันยังต้องสอดคล้องกับการบริหารจัดการประกันภัยต่อของบริษัทฯ
การบริหารจัดการประกันภัยต่อ
การบริหารจัดการประกันภัยต่อหมายถึงกระบวนการในการรับหรือส่งต่อความเสี่ยงไปยังผู้รับประกันภัยต่อ บริษัทฯ บริหารจัดการประกันภัยต่อโดยพิจารณาจากระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจว่า มีการจัดการความเพียงพอของเงินทุนที่เหมาะสม ความเสี่ยงที่ต้องพิจารณารวมถึง ความเสี่ยงขนาดใหญ่ (ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงเดียว หรือความเสี่ยงรวมของทั้งพอร์ตโฟลิโอก็ตาม) การกระจุกตัวของความเสี่ยง และความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เกิดขึ้น บริษัทฯ มีการทบทวนเกี่ยวกับผู้รับประกันภัยต่อของบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงมีการพิจารณาในการสร้างสรรค์บริการใหม่ๆ ให้แก่ลูกค้า
คณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการบริษัทฯ มอบอำนาจให้คณะกรรมการตรวจสอบ ทำหน้าที่ในการสอบทานรายงานทางการเงิน กรอบนโยบายบริหารความเสี่ยงและกำกับดูแลกิจการ และระบบการควบคุมภายในต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรฐานของกลุ่มบริษัทฯ นอกจากนี้ คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่กำกับดูแลงานด้านการให้ความเชื่อมั่น (assurance work) ของหน่วยงานตรวจสอบภายในของกลุ่มบริษัทฯ และของผู้สอบบัญชีภายนอก การสอบทานประสิทธิภาพของระบบการควบคุมภายในจะทำโดยหน่วยงานตรวจสอบภายในของกลุ่มบริษัทฯ ซึ่งผลของการสอบทานและข้อเสนอแนะจะได้รับการนำเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบ โดยคณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่ในการติดตามผลการแก้ไขและพัฒนากระบวนการทำงานตามข้อเสนอแนะของหน่วยงานตรวจสอบภายในของกลุ่มบริษัทฯ ให้เป็นตามข้อกำหนด คณะกรรมการตรวจสอบจะจัดประชุมทุกไตรมาส โดยสามารถจัดประชุมนอกเหนือจากนี้เป็นครั้งคราวได้หากมีเรื่องอื่นๆ เพื่อดำเนินการพิจารณา
คณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วยสมาชิก 3 ท่าน โดยมีตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทฯ ดังนี้
ชื่อ |
ตำแหน่ง |
1. นางลิเลียน ลุบ-ยิน-อึ้ง |
กรรมการบริหาร (ประธาน) |
2. นายศุภพงษ์ อัศวินวิจิตร |
กรรมการอิสระ |
3. นายวัชรกิต อัศวินวิจิตร |
กรรมการอิสระ |
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
คณะกรรมการบริษัทฯ มอบอำนาจให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ทำหน้าที่ในดูแลจัดการความเสี่ยงทั้งทางด้านการเงินและไม่ใช่ด้านการเงินของบริษัทฯ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมีหน้าที่ในการให้คำแนะนำต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เกี่ยวกับนโยบายบริหารความเสี่ยง กรอบการบริหารความเสี่ยง องค์ประกอบพื้นฐาน หน่วยงาน และกระบวนการทำงาน เพื่อให้มั่นใจว่า ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดตามกฎหมาย และข้อกำหนดภายในตามมาตรฐานขั้นต่ำ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมีหน้าที่รับผิดชอบในการนำกรอบการบริหารความเสี่ยงมาใช้และดำรงไว้ รวมถึงการควบคุมติดตามให้สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวได้ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงจะจัดประชุมทุกไตรมาส โดยสามารถจัดประชุมนอกเหนือจากนี้เป็นครั้งคราวได้หากมีเรื่องอื่นๆ เพื่อดำเนินการพิจารณา
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วยสมาชิก 10 ท่าน โดยมีตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทฯ ดังนี้
ชื่อ |
ตำแหน่ง |
1. นายอามัน โชวลา |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ (ประธาน) |
2. นางสาวชุย เม เซียว* |
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารความเสี่ยง (รองประธาน) |
3. นายมาร์ติน สตีเว่น แบร์รี่ |
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงบประมาณ |
4. นายฟรานดิเช็ค ปลังก้า |
ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ |
5. นางสายพิณ โชคนำกิจ |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานรัฐกิจสัมพันธ์ |
6. นางสาวเปสลารี ธีระสาสน์ |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานปฏิบัติการ |
7. นางสาวพรพิมล ตรงเที่ยงธรรม |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานพันธมิตรธุรกิจ |
8. นายอามัน คาพัว |
ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด |
9. นายวิชัย ชีวศรีรุ่งเรือง |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานช่องทางตัวแทน |
10. นางสาวรสนันท์ จันเกษม* |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานทรัพยากรบุคคล |
*การแต่งตั้งอย่างเป็นทางการโดยคณะกรรมการบริษัทฯ จะเกิดขึ้นในไตรมาสที่ 4 ประจำปี 2561
คณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน
คณะกรรมการบริษัทฯ มอบอำนาจให้คณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน มีหน้าที่กำหนดทิศทางการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน รวมถึงการบริหารการลงทุน บริหารเงินกองทุนของบริษัทฯ และการบริหารสภาพคล่อง การประกันภัยต่อ และการบริหารผลิตภัณฑ์ที่มีผลบังคับ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงจะจัดประชุมอย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี โดยสามารถจัดประชุมนอกเหนือจากนี้เป็นครั้งคราวได้หากมีเรื่องอื่นๆ เพื่อดำเนินการพิจารณา
คณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน ประกอบไปด้วยสมาชิกอย่างน้อย 3 ท่าน โดยมีตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทฯ ดังนี้
ชื่อ |
ตำแหน่ง |
1. นายมาร์ติน สตีเว่น แบร์รี่ |
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงบประมาณ (ประธาน) |
2. นายอามัน โชวลา |
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ |
3. นายอิฎฐ์ อภิรักษ์ติวงศ์ |
ผู้อำนวยการหรือตัวแทนจากฝ่ายคณิตศาสตร์ประกันภัย |
4. นางสาวชุย เม เซียว |
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารความเสี่ยง |
คณะกรรมการการลงทุน
คณะกรรมการบริษัทฯ มอบอำนาจให้คณะกรรมการลงทุน (Investment Committee) ซึ่งรายงานตรงต่อคณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน และคณะกรรมการบริษัทฯ ทำหน้าที่กำหนดและให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับนโยบายกลยุทธ์การลงทุนโดยรวมและแนวทางการลงทุนของบริษัทฯ และนำเสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทฯ รวมทั้งคณะกรรมการลงทุนยังมีหน้าที่พิจารณาอนุมัติแผนการลงทุนและการบริหารความเสี่ยงจากการลงทุน กำกับดูแลและสอบทานการลงทุนให้เป็นไปตามนโยบายการลงทุน นโยบายการบริหารความเสี่ยง ระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนและข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ คณะกรรมการลงทุนยังมีหน้าที่กำกับดูแลเรื่องธรรมาภิบาล ความโปร่งใสและการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมการลงทุน กำกับดูแล ระบบงาน บุคลากรและข้อมูลที่ใช้ประกอบการลงทุนให้มีความเพียงพอต่อการดำเนินการ บริหารเงินลงทุนตามนโยบายการลงทุน ทั้งนี้ คณะกรรมการลงทุนรายงานผลการลงทุนให้คณะกรรมการบริษัทฯ รับทราบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง คณะกรรมการลงทุนจะจัดประชุมอย่างน้อยทุกไตรมาส โดยสามารถจัดประชุมนอกเหนือจากนี้เป็นครั้งคราวได้หากมีเรื่องอื่นๆ เพื่อดำเนินการพิจารณา
คณะกรรมการลงทุนประกอบไปด้วยสมาชิกอย่างน้อย 3 ท่าน โดยมีตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทฯ ดังนี้
ชื่อ |
ตำแหน่ง |
1. นายมาร์ติน สตีเว่น แบร์รี่ |
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงบประมาณ (ประธาน) |
2. นายอิฎฐ์ อภิรักษ์ติวงศ์ |
ผู้อำนวยการหรือตัวแทนจากฝ่ายคณิตศาสตร์ประกันภัย |
3. นายยิ่งยง เจียรวุฑฒิ |
หัวหน้าหรือตัวแทนจากฝ่ายลงทุน |
4. นางสาวชุย เม เซียว |
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารความเสี่ยง หรือตัวแทนจากฝ่ายบริหารความเสี่ยง (สมาชิกสมทบ*) |
*เมื่อมีเหตุให้คณะกรรมการลงทุน 2) – 3) ข้างต้น ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ ให้ผู้อำนวยการหรือตัวแทนจากฝ่ายบริหารความเสี่ยงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกคณะกรรมการลงทุน
การสรรหาและแต่งตั้งกรรมการ
บริษัทฯ พิจารณาสรรหาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิตามคุณสมบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับดูแล ทักษะ ประสบการณ์ และความชำนาญที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อทดแทนกรรมการ ในกรณีที่ครบวาระ ลาออก หรือพ้นสภาพการเป็นกรรมการในทุกกรณี โดยจะพิจารณาบุคคลที่เหมาะสมมาดำรงตำแหน่ง เพื่อเสนอความเห็นต่อเจ้าหน้าที่ของสำนักงานส่วนภูมิภาค คณะกรรมการบริษัทฯ และ/หรือขออนุมัติต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น ตามข้อบังคับของบริษัทฯ
การสรรหาและแต่งตั้งผู้บริหาร
นโยบายการสรรหาผู้บริหารระดับสูงของบริษัทฯ กล่าวคือการจ้างผู้บริหารระดับสูงคือการดำเนินการสรรหา และคัดเลือกสำหรับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้บริหารระดับสูงที่รายงานตรงต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กระบวนการประเมินและวัดผลในการสรรหา จะต้องมีการสัมภาษณ์โดยผู้บังคับบัญชา 2 ท่าน ซึ่งได้แก่ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้บริหารจากสำนักงานส่วนภูมิภาค การประเมินภาวะผู้นำโดยการสัมภาษณ์หรือใช้แบบสอบทดสอบอื่นใด จะได้รับการแนะนำจากฝ่ายทรัพยากรบุคคลสำนักงานภูมิภาค และการตรวจสอบคุณสมบัติก่อนเข้าทำงานจะรับผิดชอบโดยตรงโดยบริษัทฯ
ค่าตอบแทนของกรรมการ กรรมการอิสระ
บริษัทฯ มีกระบวนการในการกำหนดค่าตอบแทนของกรรมการอย่างชัดเจน โดยในแต่ละปีจะมีการสอบทานความเหมาะสมของค่าตอบแทนกรรมการ โดยจะพิจารณาถึงขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของกรรมการ เพื่อให้มั่นใจว่าค่าตอบแทนกรรมการของบริษัทฯ เทียบเคียงได้กับอัตราค่าตอบแทนกรรมการของบริษัทอื่นที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ค่าตอบแทนกรรมการจะได้รับการนำเสนอในที่ประชุมผู้ถือหุ้น และเมื่อได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น จะมีผลบังคับใช้ไปจนกว่าที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะกำหนดเป็นอย่างอื่น กรรมการที่เป็นผู้บริหาร และ/หรือ พนักงานของบริษัทฯ จะไม่ได้รับค่าตอบแทนในฐานะกรรมการ
ค่าตอบแทนของกรรมการที่เป็นพนักงานของบริษัทฯ จะได้รับการพิจารณาเป็นประจำทุกปี โดยเป็นไปตามหลักการและนโยบายค่าตอบแทนของพนักงานของบริษัทฯ ค่าตอบแทนดังกล่าวจะเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการส่งมอบตามแผนทางธุรกิจและกลยุทธ์ และเป็นไปตามข้อกำหนดหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ค่าตอบแทนของผู้บริหาร
การจ่ายค่าตอบแทนจะประกอบด้วย เงินเดือน โบนัส รวมทั้งสวัสดิการต่างๆ ซึ่งจะต้องสามารถแข่งขันได้ดีกับตลาดในประเทศ โดยนโยบายค่าตอบแทน จะต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสม เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลจากตลาดภายนอก และจะต้องส่งเสริมและสนับสนุนการเติบโตต่อไปของธุรกิจเป็นอย่างดี และยังจะต้องคำนึงถึงระดับค่าตอบแทนของพนักงานภายในองค์กรในระดับเดียวกัน ทั้งนี้ การให้รางวัลจะต้องพิจารณาด้วยความละเอียดรอบคอบ โดยมีการจัดทำการประเมินผลปฏิบัติงาน รวมถึงการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี ที่ต้องมีการเปรียบเทียบระหว่างเป้าหมาย และผลการดำเนินงานสำหรับรอบระยะเวลารายงานทางการเงินที่ผ่านมา